รายการพระเครื่อง

ชื่อ พระชัยวัฒน์ สุจิตโต วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2495 พิมพ์มารวิชัย
ชื่อพระ พระชัยวัฒน์ สุจิตโต วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2495 พิมพ์มารวิชัย
รายละเอียดพระ พระชัยวัฒน์ สุจิตโต วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2495 พิมพ์มารวิชัย..เนื้อทองผสม พระชัยวัฒน์ สุจิตโต สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธานในการจัดสร้าง พิธีครั้งยิ่ง เทพร้อมพระกริ่งไพรีพินาศ และพระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ ปลุกเสกพร้อมกัน และรวมถึงเหรียญพระไพรีพินาศรุ่นแรก พระชัยวัฒน์ สุจิตโต สร้างขึ้น 3 พิมพ์ด้วยกันคือ 1.พิมพ์สมาธิ 2.พิมพ์พุทธกวัก 3.พิมพ์มารวิชัย(ถือน้ำเต้า) จำนวนการสร้างไม่มากนัก พุทธคุณเด่นด้าน มีชัยชนะต่อภัยอันตรายทั้งปวง เมตตามหานิยม โชคลาภค้าขาย แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นเลิศครับ...........พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระประวัติเบื้องต้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระนามเดิมหม่อมราชวงศ์ชื่นทรงเป็นโอรสหม่อมเจ้าถนอม และหม่อมเอม ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา จึงทรงเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงเนื่องในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย เพราะกรมหมื่นมเหศวรวิลาสและพระอนุชา คือ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ วรฤทธิราชมหามกุฏ บุรุษยรัตนราชวโรรส) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ซึ่งเป็นธิดาของพระอินทรอไภย (เจ้าฟ้าทัศไภย) โอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ราชพัสดุของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบางอย่างที่ทรงได้รับสืบต่อมา เช่น พระแท่นหินอ่อนยังอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร) ส่วนหม่อมเอมเป็นธิดาพระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย) ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (พญาเจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี เมื่อมีพระชนมายุพอจะเป็นมหาดเล็กได้ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ฯ สยามมกุฏราชกุมารในรัชกาลที่ ๕ ได้เป็น “คะเด็ด” ทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์ทำนององครักษ์ เวลาอยู่ประจำการตามหน้าที่ ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน ได้พำนักอยู่ ณ ตำหนัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๔) พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ ซึ่งทรงเป็นผู้อุปการะและอบรมสั่งสอน (ทรงบรรพชา) มื่อมีพระชนมายุเจริญขึ้นแล้ว ได้ทรงออกจากวังและได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพรหมมุนี (สุมิตฺตตฺเถร เหมือน) วัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌายะในขณะที่ทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ยังทรงพระชนม์อยู่ แต่ปรากฏในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหารว่า ในระยะหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ไม่ค่อยได้ทรงเป็นพระอุปัชฌายะ แม้ในวันนี้ก็ไม่ทรงรับเป็น พระอุปัชฌายะ แต่โปรดให้บวชอยู่ในวัดได้ต้องถือพระอุปัชฌายะอื่น ในระหว่างที่ทรงเป็นสามเณร ได้ตามเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไปประทับอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งในขณะนั้น ม.ร.ว.ชุบ (พระยานครภักดีฯ) ผู้เป็นพี่ได้อุปสมบทอยู่ที่วัดมกุฏฯ และต่อมาได้ตามเสด็จ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร ในปลายสมัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อทรงบรรพชาแล้ว ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม กับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และทรงศึกษาจากพระอาจารย์อื่นบ้าง เช่น หม่อมเจ้าพระปภากร, พระสุทธสีลสังวร (สาย) ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ สอบไล่ได้เปรียญ ๕ ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณร (ทรงอุปสมบท) ได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระพรหมมุนี (กิตฺติสารตฺเถรแฟง) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌายะ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อทรงดำรงพระยศเป็น กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ทั้งการบรรพชาในครั้งก่อนและการอุปสมบทในครั้งนี้ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานพระราชูปถัมภ์และได้พระราชทานพระราชูปถัมภ์ตลอดมา ในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ทรงจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง และเป็นที่ประชุมแปลสอบไล่ เรียกว่าเป็นส่วนวิทยาลัยแผนกหนึ่งจัดโรงเรียนขึ้นตามพระอารามเป็นสาขาของวิทยาลัยอีกแผนกหนึ่ง ฉะนั้น การสอบไล่พระปริยัติธรรมจึงสอบได้ ๒ แห่ง คือ สนามหลวงแห่ง ๑ สนามมหามกุฏราชวิทยาลัยแห่ง ๑ (ต่อมา ทรงเลิกสนามมหามกุฏ ฯ) เปรียญผู้สอบได้ ทรงตั้งให้เป็นเปรียญหลวงเหมือนกัน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (เวลานั้นทรงเป็น ม.ร.ว.พระชื่น เปรียญ) ได้ทรงเป็นครูรุ่นแรกของโรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นสาขาที่ ๑ ของวิทยาลัย ที่เปิดพร้อมกันทุกโรงเรียน และพร้อมกับเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ นั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้เคยรับสั่งเล่าว่า มีพระประสงค์จะสอบไล่เพียง ๕ ประโยคเท่านั้น จะไม่ทรงสอบต่อ ทรงตามอย่างสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ซึ่งทรงสอบเพียงเท่านั้น เพื่อมิให้เกินสมเด็จพระบรมชนกนาถ แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯโปรดให้สอบต่อไป และทรงคัดเลือกส่งเข้าสอบสนามหลวง หลังจากที่ทรงอุปสมบทแล้ว จึงทรงสอบต่อได้เป็นเปรียญ ๗ ประโยค เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ เมื่อทรงอุปสมบทได้ ๓ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์ ครั้งนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ทรงเริ่มจัดการพระศาสนา ทั้งการศึกษา ทั้งการปกครอง ทั้งการอื่น ๆ ดังที่ปรากฏผลอยู่ในปัจจุบันนี้ ในเบื้องต้น เมื่อยังไม่ทรงมีอำนาจที่จะจัดในส่วนรวม ก็ได้ทรงจัดในส่วนเฉพาะคือ ได้ทรงจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น อันนับเป็นส่วนเฉพาะคณะธรรมยุต สมเด็จพระสัง ฆราชเจ้า ได้ทรงมีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ มาตั้งแต่ต้นในการงานหลายอย่าง กล่าวคือ (พระภารกิจในการคณะสงฆ์) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมือง ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา โปรดให้บังคับพระอารามในหัวเมือง ซึ่งเป็นส่วนการพระศาสนา และการศึกษาได้ ทั้งในมณฑลกรุงเทพฯ ทั้งในมณฑลหัวเมือง ตลอดพระราชอาณาจักร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เป็นเจ้าหน้าที่จัดการอนุกูลในกิจที่ฝ่ายฆราวาสจะพึงทำ มีจัดการพิมพ์แบบเรียนต่าง ๆ ที่จะพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ไปฝึกสอน เป็นต้น ตลอดจนการที่จะเบิกพระราชทรัพย์จากพระคลังไปจ่าย ในการที่จะจัดตามพระราชประสงค์นี้ และโปรดเกล้า ฯ ให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชน ในหัวเมืองทั้งปวง มารวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ทรงเลือกสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสุคุณคณาภรณ์ให้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรีในศกนั้น พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมือง (พระภารกิจทางการศึกษา) ส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาทั้งแผนกธรรมและบาลี ในสมัยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้ทรงเลือกพระเถระ ให้เป็นแม่กองสอบไล่ธรรม และบาลีตามวาระ ทั้งในมณฑลกรุงเทพฯ และมณฑลหัวเมือง ก็ได้ทรงรับเลือกให้เป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายคราว เช่น ทรงเป็นแม่กองสอบไล่มณฑลปัตตานี ได้ทรงเป็นแม่กองสอบไล่มณฑลอยุธยา ทั้งระหว่างที่ทรงเป็นเจ้าคณะมณฑลนั้น และทรงได้รับเลือกเป็นแม่กองธรรมสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ แม่กองบาลีสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ (พระภารกิจในคณะธรรมยุต) มื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงมีพระชราพาธเบียดเบียน ไม่เป็นการสะดวกที่จะทรงปฏิบัติพระภารกิจในฐานะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ให้ทรงบัญชาการแทน ด้วยลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๗๗ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้น สิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. ๒๔๘๐ จึงได้ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกา ตามแบบปกครองในคณะธรรมยุตสืบมา เมื่อทรงรับหน้าที่ปกครองคณะธรรมยุตแล้ว ได้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุต ที่สำคัญหลายประการ (สมเด็จพระมหาสังฆปริณายก) พ.ศ. ๒๔๘๗ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศน์ สิ้นพระชนม์ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามเดิม ถึง พ.ศ. ๒๔๙๓ ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเฉลิมพระนามให้เต็มพระเกียรติยศ ตามราชประเพณี เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๓ (ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์) การปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งดำเนินมาเป็นลำดับเกิดความ ขัดข้องในการปกครองหลายประการ เป็นเหตุให้การคณะสงฆ์ดำเนินไปไม่เรียบร้อย เพื่อแก้ไขข้อข้องต่าง ๆ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ในฐานะองค์สกลมหาสังฆปริณายก ได้มีพระบัญชา เรียกประชุมพระเถระทั้ง ๒ ฝ่าย มาพิจารณาตกลงกันที่พระตำหนักเพ็ชร เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ พระเถระทั้ง ๒ ฝ่าย ได้ตกลงกัน (ทรงกรม) พ.ศ. ๒๔๙๙ ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาพระสมณศักดิ์และฐานนันดรศักดิ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ปัจฉิมกาล) ครั้นเวลาหลังเที่ยงคืนของวันที่ ๑๐ นับเป็นวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ประทับหน้าพระแท่นบรรทมในห้องประชวร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๐๑.๐๘ น. มีพระชนมายุ ๘๕ พรรษา ๑๑ เดือน และ ๑๙ วัน ...........
หมวดหมู่ พระชัยวัฒน์
ร้านพระ

เซ้ง ปากน้ำ

เบอร์โทรศัพท์ 0887520207
เมื่อวันที่ 2019-05-27
ยอดเข้าชม 771 ครั้ง
สถานะ ปล่อยแล้ว
Scroll