รายการพระเครื่อง

ชื่อ ตระกรุดหลวงปู่ศุข เนื้อเงิน
ชื่อพระ ตระกรุดหลวงปู่ศุข เนื้อเงิน
รายละเอียดพระ ตะกรุดเนื้อเงิน หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ลายถักจระเข้ขบฟัน ลายมาตราฐานสากลนิยมสุดขนาด 4” ตัวจริงเสียงจริง ตะกรุดเนื้อเงินพบเจอได้น้อยมากๆๆๆๆ กว่าเนื้อตะกั่ว และเนื้อ ทองแดงเป็นอย่างยื่ง เรื่องพุทธคุณ เป็นที่ทราบและประจักษ์กันอยู่แล้วว่าครบเครื่องครอบจักวาล หลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ตามประวัติท่านจะทำตะกรุดใต้น้ำ ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของทุกปี หากปีไหนตรงกับ วันเสาร์ ยิ่งดียิ่งแกร่ง เพราะเป็นวันแข็ง โดยท่านจะระเบิดน้ำลงไปนั่งบริกรรมจุดเทียนใต้น้ำ ลงไปจารตะกรุดในและเมื่อท่านจารเสร็จแล้ว จะปล่อยตะกรุดให้ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ตะกรุดดอกไหนไม่ลอยขึ้นมา เป็นอันใช้ไม่ได้ และตัวท่านจะตามขึ้นมาจากน้ำ โดยร่างกายของท่าน ตลอดจนสบงจีวรที่ท่านสวมใส่ จะไม่เปียกน้ำแต่ประการใด ขั้นตอนการทำแผ่นตะกรุดของหลวงปู่ศุข นับเป็นตำราที่แปลกไม่เหมือนใคร กล่าวคือ ขั้นแรก ต้องเคี่ยวตะกั่วนมกับปรอท ในกระเพาะควายเผือก เป็นเวลาถึง ๗ วัน ๗ คืน ที่ใต้ถุนกุฏิของท่าน  โดยท่านจะควบคุมการเคี่ยวตะกั่วด้วยตัวท่านเองเสมอ ถึงกับบางครั้งท่านลงมือเคี่ยวตะกั่วด้วยตัวเองก็มีอยู่บ่อยๆ   เสร็จแล้ว ท่านจะนำตะกั่วเหลวนั้นมาเทลงบนสมุดข่อย เมื่อตะกั่วเย็นตัวลงแล้ว ก็จะนำไปตีแผ่ออก แล้วตัดตามขนาดที่ต้องการ คือ ๑ นิ้ว ๑.๕ นิ้ว ๒ นิ้ว ๒.๕ นิ้ว ๓ นิ้ว ๔ นิ้ว จนถึง ๖ นิ้ว (ที่ยาวกว่านี้ก็อาจจะมี แต่ผู้เขียนยังไม่เคยพบเห็น จึงไม่กล้ายืนยัน)  ขั้นตอนต่อไป คือ เตรียมพร้อมสำหรับการลงจารอักขระบนแผ่นตะกั่ว เพื่อทำตะกรุด โดยการดำไปลงจารใต้น้ำดังกล่าว  จึงนับได้ว่า ตะกรุดหลวงปู่ศุข เป็นตำราที่ยากจะหาพระเกจิอาจารย์ท่านใดมาเสมอเหมือนได้ จึงไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมทุกวันนี้ ตะกรุดของท่านจึงมีการซื้อขายกันในราคาที่แสนแพง  หลวงปู่ศุข ละสังขารเมื่อปลายปี ๒๔๖๖ นับถึงวันนี้ (พ.ศ.๒๕๕๒) ตะกรุดของท่านมีอายุการสร้างเกือบ ๑๐๐ ปี นับว่าเป็นตะกรุดที่มีความเก่ามากพอสมควร       คาถาอาราธนาพระเครื่อง และตะกรุดหลวงปู่ศุข : ตั้งนะโม ๓ จบ : อิติอะระหังสุคะโต เกสโรนามะเต ประสิทธิเม อิหิอะโห นะโมพุทธายะ “ เมื่อใจมีศรัทธา ปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นเสมอ “
หมวดหมู่ เครื่องราง
ร้านพระ

โชคเจริญทรัพย์

เบอร์โทรศัพท์ 0866278195 ID LINE 0866278195
เมื่อวันที่ 2020-07-19
ยอดเข้าชม 400 ครั้ง
สถานะ พระโชว์
Scroll