รายการพระเครื่อง

ชื่อ เหรียญหลวงพ่อกฤษณ์
ชื่อพระ เหรียญหลวงพ่อกฤษณ์
รายละเอียดพระ ประวัติพระครูศิลกิติ (หลวงพ่อกฤษณ์) วัดท่าช้าง ต.เขาพระ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อกิต ฉายาอินทโชติ(หรือกฤษณ์ตามที่ปรากฏในเหรียญที่ระลึกของท่าน) กำเนิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕) โดยพื้นเพครอบครัวของท่านเป็นชาวบ้านท่าช้าง บิดาชื่อพ่อทิน มารดาชื่อแม่ศุข มีพี่น้องทั้งสิ้น ๓ คน หลวงพ่อกฤษณ์ โดยครอบครัวของท่านตั้งบ้านเรือนอยู่ด้านทิศเหนือ ติดกับวัดท่าช้าง(ปัจจุบันคือบริเวณโบสถ์หลังเก่าและโบสถ์หลังใหม่บางส่วน) ด้วยอุปนิสัยและครอบครัวของท่านมีความผูกพันอยู่ใกล้ชิดกับวัดและพระพุทธศาสนา ประกอบกับในช่วงเวลานั้นท่านเจ้าอาวาสวัดท่าช้าง คือ หลวงพ่อแก้ว ท่านให้ความเมตตารักใครเอ็นดูต่อเด็กชายกฤษณ์ที่ฉายแววในความเฉลียวฉลาด รักการอ่านเขียน หลวงพ่อแก้วท่านจึงเมตตาอบรมสอนหนังสืออักขระมูลวิชาบาลี สันสกฤต ให้กับเด็กชายกิต จนเด็กชายซึมซับและแตกฉาน บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี พร้อมทั้งอยู่จำพรรษาศึกษาสรรพวิชาที่วัดท่าช้าง นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จวบจนสามเณรกิจเจริญอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดท่าช้าง โดยมีพระอุปัชฌาย์คง เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยอุปนิสัยของหลวงพ่อกฤษณ์ที่เป็นผู้มีนิสัยรักสันโดษ ขยันหมั่นเพียรในการศึกษา แสวงหาความรู้ ศรัทธายึดมั่นในหลักพระธรรมคำสั่งสอนปวารณาที่จะอุทิศตัวและฝากชีวิตท่านไว้ในพระพุทธศาสนา ด้วยการทุ่มเทแรงกายความรู้ความสามารถ รวมถึงทรัพย์สินที่ดินที่ท่านได้รับตกทอดมาจากโยมบิดามารดาให้เป็นสมบัติของสงฆ์ในด้านศาสนกิจ แต่เดิมพื้นที่ปกครองคณะสงฆ์ในแถบฝั่งเหนือรวม ๓ แขวง คือ แขวงศรีประจันต์ แขวงนางบวช แขวงเดิมบางนั้น ท่านพระครูธรรมสารรักษา(หลวงปู่อ้น ติสโส) วัดดอนบุปผาราม อ.ศรีประจันต์ ท่านเป็นผู้ปกครองรั้งตำแหน่งเจ้าคระแขวงและรองเจ้าคณะจังหวัดรูปที่ ๒ โดยในแต่ละแขวงที่หลวงปู่อ้นท่านปกครองดูแลจะมีพระปลัดแชวงเป็นผู้ช่วย จวบจนกระทั่งพระครูธรรมสารรักษา(หลวงปู่อ้น)มรณกาลลงด้วยโรคชราในปี พ.ศ.๒๔๗” พระปลัดแขวงทั้ง ๓ รูป จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะแขวงพร้อมทั้งทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ ซึ่งแขวงเดิมบางนั้นหลวงพ่อกิต ซึ่งเวลานั้นเป็นพระปลัดและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าช้าง ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงเดิมบาง ที่นาม พระครูศิลกิติ ปกครองดูแลสืบต่อมา ด้วยสภาพพื้นที่ท้องถิ่นบ้านเมืองในสมัยนั้น การคมนาคมเดินทางเพื่อออกปฏิบัติศาสนกิจในฐานะเจ้าคณะแขวงเดิมบางของท่านพระครูศิลกิติ การใช้ม้าเป็นพาหะ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของอุปัชฌาย์ รวมทั้งดูแลวัดต่างๆในพื้นที่ปกครอง ดูจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับเวลาและสะดวกแก่เหตุการณ์ในกาลสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี(ดังที่ปรากฏในภาพ หลวงพ่อกิตท่านขี่ม้า) อันถือได้ว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่สำคัญภาพหนึ่งที่เราได้เห็นกันเลยทีเดียว) และนอกจากภาระหน้าที่ในงานพระศาสนาแล้ว ยุคเวลานั้นบ้านเมืองยังชุกชุมด้วยเสือสาง(โจร นักเลง ผู้ร้าย) พระภิกษุผู้อาวุโสจึงเป็นทั้งผู้นำ ที่พึ่งและศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ ความรู้สรรพวิชาต่างๆที่หลวงพ่อกิตท่านได้ศึกษาสั่งสมมา จึงได้นำมาสงเคราะพห์ให้กับญาติโยม จนเป็นที่กล่าวขานล่ำลือ ในความขลังและศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใครได้สักอักขระลงเลขยันต์จากท่านเป็นที่รู้กันว่าหนังดีชนิดแมลงวันไม่ได้กินเลือด จนมีคำกล่าวกันไว้ว่า“ที่สุพรรณฯ พระสักคงกระพัน ต้องหลวงพ่อกิตวัดท่าช้าง” เหล่านี้คงเป็นส่วนหนึ่งที่เราอนุชนในรุ่นหลังคงได้ฟังได้รับทราบ เพื่อจดจำและรำลึกถึงอดีตเจ้าอาวาสวัดท่าช้างและเจ้าคณะแขวงเดิมบาง พระภิกษุรูปสำคัญรูปหนึ่งที่ชาวอำเภอเดิมบางนางบวชยกย่องท่านให้เป็นหนึ่งใน “สามเทพเจ้าแห่งแขวงเดิมบางนางบวช”(อันประกอบด้วย ๑.หลวงพ่ออิ่ม ๒.หลวงพ่อแบน ๓.หลวงพ่อกฤษณ์) จวบจนปัจจุบันพระครูศิลปิติ หรือหลวงพ่อกฤษณ์ ท่านปฏิบัติตนสมดั่งเป็นพุทธบุตรผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาด้วยความมุ่งมั่นเสียสละ จนท่านกาลมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ รวมสิริ อายุ ๖๒ ปี พรรษาที่ ๔๒
หมวดหมู่ เหรียญหล่อ / ปั้ม
ร้านพระ

โชคเจริญทรัพย์

เบอร์โทรศัพท์ 0866278195 ID LINE 0866278195
เมื่อวันที่ 2022-08-02
ยอดเข้าชม 276 ครั้ง
สถานะ 2,500 บาท
Scroll