ชื่อพระ | พระรอดละโว้ หลังเจดีย์ วัดกำแพง หายากมากๆ |
รายละเอียดพระ | พระรอดละโว้ วัดกำแพง ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็นพระที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นโดย พระสุทธิพงศ์มุนี (พงศ์ พุทฺสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบพิตรภิมุข ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๐๑ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระมหาพงศ์ จำพรรษาที่วัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) ซึ่งท่านเป็นชาวบ้านขาม ตำบลบ้านชี อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และได้อุปสมบท ณ วัดกำแพง แต่ได้เข้ามาจำพรรษาเพื่อศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด ได้พบว่าวัดกำแพงได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก จึงได้คิดที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์ดังเดิม หากยังขาดปัจจัยในการบูรณะจึงได้ดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินในการบูรณะวัดกำแพง อันมีบันทึกของพระสุทธิพงศ์มุนี (พงศ์ พุทฺสโร) ครั้งยังเป็นเพียงพระมหา ถึงการดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนั้นว่า “มูลเหตุที่จะเปิดกรุมหัศจรรย์ เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นคนชาติภูมิอยู่บ้านนั้น และได้เริ่มก่อสร้างปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ คือ ศาลาการเปรียญขึ้นที่วัดกำแพง ๑ หลัง แต่มีการขัดข้องด้วยการเงิน ทำไปไม่สะดวกด้วยประการต่างๆ เพราะความยากจนของประชาชนชาวพื้นเมือง ซึ่งจะรวบรวมให้เป็นก้อนนั้นแสนยาก หากจะรอการเงินฟื้นตัวขึ้นแล้วจึงจะทำต่อไปก็จะไม่ทันการ ด้วยเหตุศาลาหลังเก่าที่มีอยู่ชำรุดมาก จนเกือบจะอาศัยไม่ได้แล้ว ทั้งนี้ข้าพเจ้าพร้อมด้วยเจ้าอาวาส และคณะทายกทายิกาทั้งหลายจึงตกลงใจว่า จำต้องทำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นสักอย่าง แล้วแจกให้เป็นที่ระลึกแก่บรรดาท่านที่ใจบุญ หรือผู้ที่ต้องการไปบูชาเป็นของขลัง เพื่อเก็บมูลค่าที่เหลือ จัดทำการสร้างสรรค์ต่อไป จักเป็นการเหมาะสมัย และอาจได้ผลดี เหตุนี้ข้าพเจ้าจึงได้พยายามเสาะหาตำรับ ซึ่งบูรพาจารย์นับถือว่า เป็นของศักดิ์สิทธิ์ชั้นเยี่ยม คือ ตำราแหวนเกราะเพชร พระรอดละโว้ ธงพระฉิม ธงแม่โพสพ ธงกำจัดโรคภัย ธงกำจัดภูติผีปิศาจและความไข้ ได้ที่วัดสามปลื้ม (จักรวรรดิราชาวาส) มาจัดทำตามลัทธิที่ตำรับบอกไว้ เมื่อทำเสร็จแล้วจึงอาราธนา ท่านพระเถระผู้เฒ่าที่ทรงคุณพิเศษเด่นอยู่ในสมัยนี้หลายองค์ มาทำพิธีปลุกเสกที่วัดกำแพง ดังมีในใบโฆษณานั้นแล้ว โอกาสนี้ข้าพเจ้าขออัญเชิญอำนาจความสัจที่บริสุทธิ์ ซึ่งข้าพเจ้าและคณะผู้ร่วมการได้ตั้งสัตยาธิษฐานบำเพ็ญกิจพระพุทธศาสนา จงบันดาลผลที่ประสงค์ให้สำเร็จโดยปราศจากอุปสรรคใดๆ ทุกประการเร็วพลันเทอญ” การดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลของพระมหาพงศ์ (พระสุทธิพงศ์มุนี) ในครั้งนั้น มีพระอธิการทองคำ ธมฺมสโร เจ้าอาวาสวัดกำแพง เป็นประธาน และพระมหาพงศ์ เป็นผู้ดำเนินการ พระมหาพงศ์ได้กราบทูลขอความอนุเคราะห์ในด้านชนวนโลหะและพิธีการสร้างจาก สมเด็จสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ สมเด็จฯ ท่านจึงได้มอบหมายให้ท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์ ยติธโร) วัดสุทัศน์ฯ มาเป็นประธานในพิธีเททอง และที่ปรึกษาแทนพระองค์ท่าน เนื่องจากทางวัดกำแพงเครื่องไม้เครื่องมือไม่พร้อม จึงได้ทำพิธีการเททองหล่อขึ้นที่วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร รวมไปถึงพระรอดละโว้เนื้อผงก็ทำการกดพิมพ์ด้วยมือที่วัดสุทัศน์ฯ เช่นกัน จากนั้นจึงได้นำมาจัดทำพิธีปลุกเสก ณ วัดกำแพง ตำบลบ้านชี อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันอังคารที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ (ไม่ได้มีการเททองหล่อพระที่วัดกำแพงเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด) รายการพระเครื่องที่จัดสร้าง ๑.พระรอดละโว้เนื้อโลหะ เฉพาะเนื้อโลหะ มี ๔ พิมพ์ คือ - พิมพ์ต้อ - พิมพ์ชะลูด - พิมพ์ต้อไม่มีรัศมี - พิมพ์ประกบสองหน้ารัศมี มีรูปหลวงพ่อทั้งสองหน้า เป็นพิมพ์ที่หายากมากที่สุด ว่ากันว่า ใน ๑ บาตรพระจะมีพระพิมพ์นี้อยู่แค่ ๒ องค์ องค์หนึ่งเป็นของ ธงชัย แป้นวงศ์ (ตี๋สั้น) และอีกองค์เป็นของ ดร.ไสว พงษ์เก่า ๒.พระรอดละโว้เนื้อผง จะมีทั้งหมด ๗ สีประจำวัน ตามคติโบราณของไทย ซึ่งจะต่างกับปัจจุบันเล็กน้อย ดังนี้ - วันอาทิตย์ สีส้มหรือสีแดง - วันจันทร์ สีขาวหรือสีนวล - วันอังคาร สีชมพู - วันพุธ สีเขียว - วันพฤหัสบดี สีเหลือง - วันศุกร์ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า - วันเสาร์ สีดำหรือสีม่วงแก่ และมีสีดำและขาวเพิ่มขึ้นมาอีกสองสี รวมเป็นทั้งหมด ๙ สีด้วยกัน หลังจากประกอบพิธีเสร็จ ๓.ผ้ายันต์ธง ๔ แบบ เช่น ผ้ายันต์ปลาตะเพียนคู่ ผ้ายันต์พระฉิมพลี ธงแม่โพสพ ธงกำจัดโรคภัย ๔.แหวนเกราะเพชร (แหวนมงคล ๗ ราศี) แหวนนี้จะมีทำสำหรับประจำวันต่างๆ ครบ ๗ วัน เนื้อโลหะผสมออกทองแดง ด้านในหล่อเป็นยันต์นูน พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดกำแพง จังหวัดลพบุรี ในวันอังคารขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๘๒ (แต่ทางวัดได้จัดงานเฉลิมฉลองและมีมหรสพสมโภชตั้งแต่วันที่ ๑๙-๒๑ มีนาคม ไม่ได้ปลุกเสกกัน ๓ วัน ๒ คืนเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างกัน) โดยมีท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ เป็นเจ้าพิธี จัดพิธีถูกต้องตามตำราของวัดสุทัศน์ฯ ทุกประการ เป็นพิธีใหญ่ที่สุดที่เคยจัดมาของจังหวัดลพบุรีในสมัยนั้นเลยทีเดียว รายนามคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก ๑. พระศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์ ยติธโร) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร ๒. พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง) วัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร ๓. พระธรรมทานาจารย์ (แนบ) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร ๔. พระครูปาโมกข์มุนี วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ๕. พระสังฆภาวรามุนี (เนียม) วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี ๖. พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทธสโร) วัดหนองโพ นครสวรรค์ ๗. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยาฯ ทั้งนี้ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลพบุรีและถิ่นใกล้เคียงอีก เข้าร่วมในพิธีด้วยหลายท่าน หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการพุทธาภิเษกแล้ว ทางวัดกำแพงยังได้นำพระรอดละโว้ เฉพาะเนื้อผงเท่านั้น ไปที่วัดหนองโพ เพื่อให้หลวงพ่อเดิมปลุกเสกให้อีกครั้งหนึ่ง และได้มีการแบ่งถวายให้ที่วัดหนองโพส่วนหนึ่ง ซึ่งก็มีคนที่ได้รับพระผงพิมพ์นี้จากมือหลวงพ่อเดิมด้วย จนคนสมัยนั้นเรียกว่า พระผงหลวงพ่อเดิม แล้วเลยเถิดไปเรียกพระรอดเนื้อโลหะด้วยว่า พระรอดหลวงพ่อเดิม เพราะเห็นว่าเป็นพิมพ์เดียวกัน กล่าวสำหรับเหตุที่เรียกขานพระเครื่องในพิมพ์ทรงพระรอดละโว้นั้น ด้วยทางผู้สร้างได้กำหนดเรียกขานในชื่อพิมพ์ ‘พระรอดละโว้’ ทั้งที่โดยพิมพ์ทรงแล้วเป็นพิมพ์ ‘พระชัยวัฒน์’ ของวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งนำมาเป็นแบบแม่พิมพ์ พระรอดละโว้ที่ได้จัดสร้างขึ้น เนื้อโลหะ จำนวนสร้างประมาณ ๒,๐๐๐ องค์ ส่วนเนื้อผง คาดว่าจำนวนสร้างน่าจะพอๆกัน ขอขอบคุณข้อมูลจาก 1. FB: มุมพระเครื่อง @ nanbangdon 2. http://www.g-pra.com/auctionc/view?aid=13801625 |
หมวดหมู่ | เหรียญหล่อ / ปั้ม |
ร้านพระ | พระเครื่องสวนจตุจักร |
เบอร์โทรศัพท์ | 0818740491 Line ID:ts872868 |
เมื่อวันที่ | 2020-01-18 |
ยอดเข้าชม | 1,898 ครั้ง |
สถานะ | พระโชว์ |