รายการพระเครื่อง

ชื่อ หลวงปู่เปลี่ยน
ชื่อพระ หลวงปู่เปลี่ยน
รายละเอียดพระ พระเกจิสองรูปที่ได้รับสมญานาม ถ้าเจ้าชู้ต้องวัดเหนือ เป็นอ้ายเสือต้องวัดใต้ คือหลวงปู่ดี วัดเหนือ และหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี หลวงปู่ดี พุทธโชติ ท่านเกิดที่บ้านทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2416 โยมบิด-มารดา ชื่อ นายเทศ-นางจันทร์ เอกฉันท์ บวชเป็นสามเณรในปี พ.ศ.2434 ณ วัดทุ่งสมอ โดยมี พระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาร่ำเรียนได้ 6 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยบิดามารดาทำนา จนอายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดทุ่งสมอ โดยมี พระครูวิสุทธิรังษี (หลวงปู่ช้าง) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการรอด และ พระใบฏีกาเปลี่ยน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “พุทธโชติ” ท่านใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียนทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ โดยมีความชอบเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการสวดปาฏิโมกข์ จึงมีความมานะพยายามจนที่สุดก็สามารถท่องปาฏิโมกข์ได้จบบริบูรณ์ในพรรษาที่ 2 ช่วงออกพรรษาท่านมักธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ศึกษาวิปัสสนาและวิทยาคมเพิ่มเติมกับพระเกจิหลายรูป อาทิ พระอาจารย์เกิด วัดกกตาล นครชัยศรี, หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อยิ้ม วัดหนองบัว ฯลฯ ท่านมีโอกาสเดินทางเข้ากรุงเทพฯ จำพรรษาที่วัดรังษีถึง 2 ครั้ง เพื่อเรียนภาษาบาลีแต่ก็ไม่ได้เรียน กลับไปเรียนปาฏิโมกข์แปลแทน ท่านมีความสามารถในเรื่องสวดมนต์และท่องปาฏิโมกข์จนได้รับคำชมเชยเป็นอันมาก ในพรรษาที่ 12 ที่หลวงปู่ดีมาจำพรรษาที่วัดรังสี ครั้งที่ 2 นั้น ท่านได้พบ พระครูสิงคิบุราคณาจารย์ (หลวงพ่อสุด) เจ้าอาวาสวัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) ซึ่งรู้จักกันมาก่อนในครั้งที่ญาติโยมนิมนต์ให้ไปสวดที่วัดใต้ ท่านพระครูฯ มาทำหนังสือเดินทางเพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า หลวงปู่จึงขออนุญาตเดินทางไปด้วย ตลอดทางทั้งไปและกลับ ท่านพระครูฯ เกิดอาพาธ ซึ่งหลวงปู่ดีได้คอยปรนนิบัติดูแลจนกลับถึงวัดเหนือ ท่านพระครูฯ ยังได้ปรารภว่า ‘ถ้าไม่ได้หลวงปู่ดีไปด้วยกัน ท่านก็คงมรณภาพเสียที่กลางทางเป็นแน่ ท่านเป็นพระเถราจารย์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาจิต ปรับปรุงและพัฒนาทุกอย่างในวัด อะไรที่ดีอยู่แล้วก็ใช้ต่อ ส่วนที่บกพร่องก็แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น ที่ยังไม่มีก็เพิ่มเติมขึ้นเป็นลำดับ ทั้ง ขนบธรรมเนียม ระเบียบพิธีการ และถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด พระทุกรูปมีวัตรปฏิบัติเรียบร้อยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นับได้ว่า วัดเหนือได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ จนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดจริงๆ เป็นที่ชื่นชมศรัทธาของเหล่าสาธุชน แม้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ยังทรงยกย่องให้เป็นตัวอย่างของวัดทั้งหลาย ในปี พ.ศ.2506 พระบาทสมเด็จพระเปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระองค์ เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดเหนือ และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ พระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. จารึกไว้เหนือผ้าทิพย์ของ ‘พระพุทธรูปปางประทานพร’ ที่ทางวัดจะจัดสร้างเพื่อนำปัจจัยมาบำรุงวัด ทั้งทรงพระราชทานแผ่นทอง เงิน และนาก ลงในเบ้าหลอมพระพุทธรูปทุกเบ้า อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง ท่านยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ในสมัยที่พระองค์กลับมาอุปสมบทที่วัดเหนือและจำพรรษาอยู่ 1 พรรษา จากนั้นกลับสู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุตอีกครั้ง โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นที่ พระเทพมงคลรังสี เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี องค์ต่อมาจากหลวงปู่เปลี่ยน และมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2510 สิริอายุ 94 ปี 73 พรรษา หลวงพ่อเปลี่ยนวัดใต้ เมื่อเยาว์วัยมีนิสัยเป็นนักสู้เข้มแข็งเพราะเกิดในวันกล้าคือวันเสาร์ห้าจิตใจจึงกว้างขวาง โยมบิดาโยมมารดาคิดวิตกว่าต่อไปคงจะเอาดีได้ยากเพราะรูปร่างล่ำสัน ผิวก็ดำ จึงเรียกกันว่า ทองดำ เมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่มด้วยความเป็นผู้ที่มีนิสัยดังกล่าวข้างต้นจึงมีสมัครพรรคพวกมากขึ้นเรื่อยๆ โยมบิดาจึงตัดสินใจนำไปฝากให้เรียนหนังสือที่วัดใต้ก็คือวัดไชยชุมพลชนะสงครามในปัจจุบัน โดยนำไปฝากให้เป็นศิษย์ของท่านพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะเมืองกาญจน์ในสมัยนั้น เมื่อหนุ่มทองดำมาอยู่วัดก็เปลี่ยนเป็นคนสุขุมเยือกเย็นหนักแน่น สุภาพเรียบร้อยและมีความโอบอ้อมอารีผิดไปเป็นคนละคน โยมบิดาเลยเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า เปลี่ยน นับแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาเมื่ออายุครบบวช โยมบิดาจึงนำไปอุปสมบทที่วัดใต้โดยมีพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการรอดแห่งวัดทุ่งสมอกับพระอธิการกรณ์แห่งวัดชุกพี้เป็นคู่สวด พระอุปัชฌาย์เห็นว่าเป็นคนชะตากล้าแข็งมากเพราะเกิดในวันเสาร์ห้าตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าจะให้ฉายาเป็นคนวันเสาร์ก็เกรงว่าจะกล้าแข็งมากเกินไปจึงให้ฉายาเป็นคนวันอาทิตย์ว่า อินทสโร และได้เล่าเรียนทั้งหนังสือขอมและหนังสือไทย ความตั้งใจครั้งแรกจะบวชเพียง ๗ วันเท่านั้นแต่แล้วบุญกุศลก็เสริมให้ปักใจแน่วแน่ในบวรพุทธศาสนาไม่ยอมสึกจวบจนสิ้นอายุขัย นับแต่พระภิกษุเปลี่ยนได้บวชเรียนก็ได้ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัดร่ำเรียนวิชาไหนก็สำเร็จไปทุกอย่าง ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว พูดจริง ทำจริง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหาใดๆ หลวงพ่อช้างพระอุปัชฌาย์จึงตั้งให้เป็นพระใบฎีกาฐานาของท่าน จึงเป็นกำลังช่วยท่านตลอดมา ในเรื่องทางไสยศาสตร์เวทย์มนต์ของหลวงพ่อใครๆก็รู้กันทั่วว่าเก่งจริงในกรุงเทพฯ สมัย ร.๕ – ร.๖ จะมีพิธีทางไสยศาสตร์แล้วจะขาดหลวงพ่อวัดใต้เมืองกาญจน์ไม่ได้เลย ดังปรากฏพัดรองและย่ามที่หลวงพ่อได้รับไปจากกรุงเทพฯ เช่นงานถวายพระเพลิง ร.๕ เสวยราชย์ ร.๖ ฉลอง ๑๕๐ ปี พัดจักรีฯลฯ พอหลวงพ่ออายุ ๗๔ ปีก็มีการฉลองหลวงพ่อโดยคณะศิษย์จัดขึ้นเป็นงานใหญ่มาก เจ้าใหญ่นายโตทางกรุงเทพฯออกไปในงานมากมายเช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยก็เป็นศิษย์ของท่านมีความเคารพนับถือหลวงพ่อเป็นอย่างมาก ได้เครื่องรางของหลวงพ่อไว้ครบเช่น เสื้อยันต์(ลงยันต์พระพิลาปป่า มีกำลังมหาศาลอิทธิฤทธิ์มาก) ผ้าประเจียด ชานหมาก ตะกรุด ลูกอม หมอนธง มหารูด หนังหน้าผากเสือ หลวงพ่อเปลี่ยนได้รับการชมเชยจาก ร.๕ ในคราวเสด็จประพาสเมืองกาญจนบุรีโดยนำพระสงฆ์ ๒๐ รูปมาสวดมนต์รับเสด็จที่พลับพลาว่า “สวดมนต์เก่ง สวดได้ชัดเจน ตลอดจนการลีลาสังโยคน่าฟังและขัดตำนานได้ไพเราะ” ได้รับของพระราชทานหลายอย่างเป็นที่โปรดปรานของ ร.๕ ลักษณะของหลวงพ่อเป็นมหาอำนาจ ใครได้พบเห็นน่าเกรงขามยิ่งนักจนถึงกับมีคำขวัญว่า “เจ้าชู้ต้องวัดเหนือเป็นอ้ายเสือต้องวัดใต้” วัดเหนือหมายถึงพระครูอดุลยสมณกิจ (ดี) ในสมัยนั้นซึ่งต่อมาได้เลื่อนเป็นพระเทพมงคลรังษ์เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีสืบแทนหลวงพ่อเปลี่ยน อสาธํ สาธุนา ชิเน : พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี โดยปกติหลวงพ่อเปลี่ยนเป็นพระเอางานเอาการปฏิบัติเคร่งครัดในระเบียบของสงฆ์โดยสมบูรณ์ ขยันทำวัตรสวดมนต์และกวดขันผู้ที่อยู่ในความปกครองอย่างมีความยุติธรรม ใครดีก็ส่งเสริมใครเลวก็จะเตือน หากเตือนแล้วไม่ฟังก็จะปราบอย่างเด็ดขาด จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวกาญจน์และเมืองใกล้เคียง สมเด็จพระมหาสมณฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศ เขียนชมเชยในตรวจการคณะสงฆ์ จ.กาญจน์ว่า “หลวงพ่อฉลาดในการปกครองมากแม้เมืองกาญจน์จะมีอาณาเขตกว้างขวาง ก็ปกครองด้วยความเรียบร้อย” หลวงพ่อชอบทางวิปัสสนาธุระได้ฝึกฝนจนมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว วัดไหนจะมีพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลังสร้างพระพุทธรูปต้องมานิมนต์หลวงพ่อร่วมลงแผ่นอักขระ หรือถ้าท่านว่างก็จะอาราธนามาร่วมพิธีด้วยเสมอ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปเสือชื่อดังของเมืองกาญจน์เช่น เสือสาย เสือหัด เสือแก้ว เสือหนอม และรุ่นเก่าคือ อาจารย์บัว อาจารย์บาง ก็เคารพยำเกรงหลวงพ่อมาก หลวงพ่อถึงแก่มรณภาพเมื่ออายุ ๘๕ ปี พระราชทานเพลิงในปลายปี พ.ศ.๒๔๙๐ “ เมื่อใจมีศรัทธา ปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นเสมอ “
หมวดหมู่ เครื่องราง
ร้านพระ

โชคเจริญทรัพย์

เบอร์โทรศัพท์ 0866278195 ID LINE 0866278195
เมื่อวันที่ 2020-11-11
ยอดเข้าชม 752 ครั้ง
สถานะ โชว์พระ
Scroll