ชื่อพระ | หลัง "จปร " พระดังในตำนานกรุวัดลิงขบ |
รายละเอียดพระ | พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ องค์นี้เป็นพระแท้พิมพ์พิเศษ ด้านหลังองค์พระ มีรูป “ หมู ” อยู่เหนือตัวอักษร “ จปร ” ซึ่งอยู่ด้านล่างตรงกลาง ด้านซ้ายและด้านขวาของตัวอักษร “ จปร ” ประดับด้วย “ ช่อชัยพฤกษ์ ” ตัวอักษร “ จปร ” ค่อนข้างจะตื้นและเรือนลางมาก เป็นอักษรย่อพระปรมาภิไธย ของ “ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ” องค์มหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ พิมพ์พิเศษนี้ได้ถูกเขียนไว้ในหนังสือพระเครื่องเล่มเก่าหลายๆเล่มเกี่ยวกับประวัติของพระกรุวัดลิงขบ(วัดบวรมงคล) โดยนักเขียนรุ่นเก่าๆของวงการพระเครื่อง แต่ด้วยพระพิมพ์พิเศษนี้เป็นพิมพ์ที่หายากมาก ในขณะนั้นจึงยังไม่สามารถหารูปภาพนำมาประกอบเรื่องที่เขียนได้ กรุพระวัดบวรมงคล สมัยปัจจุบัน พระเจดีย์ ซึ่งเป็นกรุดังจะกล่าวถึงนี้ เป็นพระเจดีย์ทรงไทยขนาดสูง ๙.๗ เมตร วัดรอบฐาน ๑๔.๒๖ เมตร ตั้งอยู่หน้าวัด ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มุมวัดด้านเหนือ สันนิษฐานว่าท่านผู้สร้างมีความประสงค์ จะให้เป็นเครื่องหมายกำหนดเขตวัด เพราะกล่าวกันว่า มุมวัดด้านใต้ก็มีอยู่องค์หนึ่งเช่นกัน (ปัจจุบันไม่มี) เนื่องจากการเปิดกรุวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๐๙ เราไม่ทำลายองค์พระเจดีย์ ฐานรากพระเจดีย์ยังอยู่ในสภาพเดิม จึงไม่ได้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจจะอยู่ในฐานรากพระเจดีย์นั้น และวันเวลาที่แน่นอนแห่งการสร้างพระเจดีย์ ก็ไม่อาจนำมาตีพิมพ์ไว้ในครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ดี พระเจดีย์องค์นี้ มีความเป็นมาเท่าที่สืบทราบได้จากการบอกเล่า และตามประวัติความเป็นมาของวัดดังนี้ ท่านพระรามัญมุนี (ยิ้ม) เป็นเจ้าอาวาส ราว พ.ศ. ๒๓๘๐ – ๒๔๑๐ หลังจากท่านถึงมรณภาพนานแล้ว พระสุเมธาจารย์ (ศรี) ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูราปริต ได้มารักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านรูปนี้เป็นผู้ชักจูงให้ผู้มีศรัทธามาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางส่วน ท่านจางวางโต ซึ่งรับราชการอยู่กับ สมเด็จพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นคนหนึ่งที่ได้มาร่วมในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งนั้น ได้ร่วมกับผู้มีศรัทธาอื่น สร้างพระเจดีย์องค์นี้ขึ้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ร่วมกันนำพระมาบรรจุไว้ชั้นบนคอระฆังพระเจดีย์ จึงปรากฏว่ามีพระเครื่องพระบูชาต่างชนิด และต่างสมัยกันอยู่ชั้นนั้น สำหรับ พระสมเด็จทรงกลีบบัวนั้น ได้ร่วมกันสร้างและนิมนต์พระเถระมีชื่อเสียงในสมัยนั้นมาทำพิธีพุทธาภิเษก และบรรจุไว้ในเจดีย์ชั้นล่าง สมัยที่บรรจุนั้นเป็นสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ยังมีชีวิตอยู่ (ท่านถึงแก่มรณภาพ พ.ศ. ๒๔๑๕ ) กล่าวกันว่าท่านได้มาร่วมพิธีบรรจุด้วย พระเจดีย์องค์นี้ นอกจากบรรจุพระเครื่อง พระบูชาไว้ข้างในแล้ว ยังบรรจุอัฐิบรรพบุรุษของผู้สร้างไว้ที่ฐานพระเจดีย์ด้วย แต่เป็นชั้นนอก อัฐิของท่านจางวางโต ทายาทของท่านก็กล่าวว่าบรรจุไว้ในที่นี้ด้วย ทายาทรุ่นหลังมี พระยาหิรัญยุทธกิจ (ชาตะ ๒๔๑๙ มตะ ๒๕๐๔) นางจีน วิเศษสากล (ชาตะ ๒๔๒๓ มตะ ๒๕๐๙) ทั้งสองท่านนี้ ได้มาบำเพ็ญกุศลอุทิศถึงบรรพบุรุษของตนเป็นประจำทุกปีมา
ตามเรื่องที่กล่าวมานี้ พระเจดีย์องค์นี้มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี เล็กน้อย แต่อย่างไรก็ดี เรื่องนี้เป็นเรื่องสืบจากภายนอก คือนอกจากองค์พระเจดีย์ ไม่ใช่ในองค์พระเจดีย์ และการสืบหาประวัติความเป็นมาทั้งเรื่องพระเจดีย์ และเรื่องเกี่ยวกับวัด ทางวัดได้ใช้เวลาอันจำกัด และอยู่ในวงการแคบ อาจมีข้อผิดพลาดได้ ซึ่งทั้งนี้ทางวัดจะศึกษาหาหลักฐานเพิ่มเติม ในการทำประวัติครั้งต่อไป ลักษณะกรุ มีกรุที่บรรจุพระอยู่ทั้ง ๒ ชั้น คือ ชั้นล่างจากฐานขึ้นไปแบ่งเป็นห้อง ๔ ห้องส่วนสูงประมาณ ๑ เมตร เครื่องก่ออิฐกั้นติดกันตรงกลาง แต่ละห้องกองดินขึ้นใสสูงพ้นจากพื้นประมาณ ๒ ฟุต ทั้ง ๔ ห้องนี้บรรจุพระสมเด็จกลีบบัวทั้งหมด โดยบรรจุไว้ในกระถางมังกรอีกชั้นหนึ่ง และบรรจุตั้งไว้บนกองดิน และโดยที่ตั้งกระถางบรรจุพระไว้บนกองดินนี้ ด้านที่ติดฝั่งน้ำ เจดีย์ถูกคลื่นซัดอยู่ตลอดเวลา อิฐและปูนกร่อนทำให้เป็นช่องน้ำไหลเข้าได้ กองดินยุบลง ทำให้กระถางบรรจุพระเอียง เมื่อคลื่นซัด พระก็ไหลตามน้ำออกมา อันเป็นต้นเหตุให้มีการขุดกรุครั้งนี้ กรุชั้นบน คือ ที่คอระฆังของพระเจดีย์ ชั้นนี้ได้แบ่งเป็นห้อง ๔ ห้อง เช่นเดียวกันกับชั้นล่าง แต่ละห้องมีเนื้อที่ประมาณ ๑ ตารางฟุต หรือแคบกว่านั้นเล็กมาก ภายในห้องชั้นบนทั้ง ๔ ห้องนี้ บรรจุพระเครื่องพระพุทธรูปบูชาขนาดเล็ก พระบรมธาตุ และของมีค่าอย่างอื่นจำนวนลักษณะไม่เหมือนกัน ตามที่เข้าใจกัน ของบรรจุไว้ชั้นบนนี้เป็นของที่มีผู้ร่วมบริจาคบรรจุไว้ เช่นพระเครื่องมีตั้งแต่สมัยสุโขทัยมา ถึง สมัยรัตนโกสินทร์ มีบางชนิดอยู่ในลักษณะผุกร่อน ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เจ้าของพระนั้นๆ ได้ใช้มาแล้วนานปี แต่บางอย่างก็ผุกร่อนเพราะเก็บไว้ในกรุ เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า พระเครื่องเนื้อชินแทบทั้งหมดเป็นพระแบบอยุธยา ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะสมัยนั้นนิยมพระเครื่องอยุธยามาก ส่วนพระบูชาขนาดเล็กเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นกันเป็นพื้น
สาเหตุแห่งการเปิดกรุ เนื่องจากพระเจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่ติดกับฝั่งแม่น้ำ คลื่นซัดอยู่ตลอดเวลา บริเวณฐานซึ่งเดิมมีกำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศ ปัจจุบันหายไปเหลือแต่แนวฐานของกำแพง สะพานเดินเท้าที่ชาวบ้านผู้อาศัยอยู่ ส่วนนั้นก็ชิดติดกับองค์พระเจดีย์ ยากแก่การบูรณะและการรักษา ครั้นอยู่มา เด็กพบพระไหลออกมากับน้ำตามแนวของก้อนอิฐที่ผุกร่อน จึงทราบถึงผู้ใหญ่ และแล้วก็มีการขุดล้วงพระไปก่อนที่ทางวัดจะรู้ตัว แต่ยังเป็นเคราะห์ดีของทางวัดที่จะได้พระเหล่านั้นไว้ อันส่งอานุภาพสะท้อนมาเป็นประโยชน์ในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่อมา
เหตุการณ์เกี่ยวกับการเปิดกรุ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เวลา ๑๙.๒๐ น. ได้ทราบจากการบอกเล่า มีคนลักลอบขุดเจดีย์ นำเอาพระเครื่องออกไปเป็นจำนวนมาก ท่านเจ้าคุณพระญาณเวที เรียกให้ไปพบที่กุฏิแนะนำให้หาทางป้องกัน ข้าพเจ้ากับพระเตียม ซึ่งอยู่กุฏิเดียวกัน ได้รีบไปดูปรากฏว่า เป็นจริงตามที่บอกเล่า คือพระเจดีย์ถูกขุด ที่ฐานด้านตะวันออกติดกับฝั่งแม่น้ำ มีรอยล้วงนำพระออกไป แต่รอยขุดล้วงยังไม่กว้างนัก จึงได้ไปพบนายร้อยเวรสถานีตำรวจนครบาลวัดบวรมงคลซึ่งอยู่ห่างจากพระเจดีย์ไปประมาณ ๒๐ เมตร ร.ต.ต. วิมุติ พิเศษกุล นายร้อยเวร (ในขณะนั้น) ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกตรวจการ เป็นระยะๆและเขียนประกาศห้ามไว้ด้วย ครั้นเวลา ๒๔.๐๐ น. นายสำรวย ซึ่งอาศัยอยู่หน้าวัดมาปลุก บอกว่ามีคนลอบขุดเจดีย์อีก ข้าพเจ้าจึงชวนพระเตียมไปดู ครั้นไปถึงพระเจดีย์ไม่ปรากฏเห็นคนร้าย แต่มีรอยพิรุธผิดสังเกต รุ่งเช้า วันที่ ๒๓ มีนาคม ข้าพเจ้าไปตรวจดูอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่ามีรอยขุดล้วงพระเจดีย์กว้างออกไปกว่าคืนก่อน จึงจัดให้ศิษย์วัดเข้าเวรรักษากันตลอดเวลาวันที่ ๒๔ มีนาคม นอกจากให้ศิษย์วัดเข้าเวรกันเฝ้าแล้วยังมีพระภิกษุและสามเณรแสดงความยินดีเข้าเวรเฝ้า และออกตรวจตราด้วยตลอดกลางวัน และกลางคืน ในระยะวันที่ ๒๒-๒๔ นี้ ท่านเจ้าคุณเจ้าอาวาส ได้ติดต่อและพบกับเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้อารักขาแก่องค์พระเจดีย์ มอบการขุดค้นเอาของที่มีอยู่ในพระเจดีย์ออกมารักษาไว้ และการซ่อมแซมบูรณะพระเจดีย์ ให้เป็นหน้าที่ของกรมการศาสนาโดยสิ้นเชิง ส่วนพระภิกษุสามเณร ภายในวัดเห็นว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นการเนิ่นช้า เป็นการลำบากแก่ผู้ที่ต้องเข้าเวรรักษาทั้งกลางวัน และกลางคืน ท่านเจ้าคุณผู้ช่วยเจ้าอาวาส (พระญาณเวที) ได้ขึ้นไปเรียนชี้แจงความเห็นของพระภิกษุสามเณรในวัด และความจำเป็นในการนี้ให้ท่านทราบ ซึ่งในที่สุดท่านก็ยินยอมเห็นดีด้วย พระกลีบบัววัดลิงขบ เป็นพระเครื่องเนื้อดิน ลักษณะโดยรวมเป็นรูปกลีบบัว องค์พระนั่งปางสมาธิแบบลอยองค์ มีเส้นลายรัศมีวิ่งอยู่รายรอบขอบองค์พระ ด้านหลังมีทั้งแบบเรียบเป็นแอ่ง และแบบเรียบนูน เนื้อเป็นแบบเนื้อดินผสมผง ได้แก่ผงวิเศษ และผงตะไบทองคำ เท่าที่พบมีหลายสี เช่น สีเหลืองแดง, สีพิกุล, สีน้ำตาลแก่ เป็นต้น ลักษณะพิมพ์ทรงแยกได้ดังนี้ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์พิเศษ ด้านหลังมีอักษรย่อ “ จปร ” และช่อชัยพฤกษ์ พิมพ์นี้จะมีจำนวนน้อยมาก แทบไม่พบเห็นเลย “ จปร ” เป็นอักษรย่อพระปรมาภิไธย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์มหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี จึงสันนิฐานว่า พระเครื่องพิมพ์นี้มีเจตนาการสร้าง เพื่อเฉลิมฉลองพระบารมีของพระองค์ท่านโดยเฉพาะ ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก วัดบวรมงคลราชวรวิหาร (http://www.watbm.com) หนังสือ "ยอดพระเครื่องสกุล กรุงเทพฯ" |
หมวดหมู่ | พระกรุ |
ร้านพระ | พระเครื่องสวนจตุจักร |
เบอร์โทรศัพท์ | 0818740491 Line ID:ts872868 |
เมื่อวันที่ | 2017-04-02 |
ยอดเข้าชม | 2,837 ครั้ง |
สถานะ | พระโชว์ |