รายการพระเครื่อง

ชื่อ พระกรุวัดท้ายตลาด(กรุเก่า) พิมพ์เล็บมือมารวิชัย
ชื่อพระ พระกรุวัดท้ายตลาด(กรุเก่า) พิมพ์เล็บมือมารวิชัย
รายละเอียดพระ

พระกรุวัดท้ายตลาด(กรุเก่า) พิมพ์เล็บมือมารวิชัย

           สภาพพระสวยสมบูรณ์ เป็นเนื้อผงผสมใบลานสีเทาอมดำ ไม่ผ่านการบูชา พิมพ์ทรงติดคมชัด คราบกรุบางๆปกคลุมผิวไม่บดบังองค์พระ เนื้อหามวลสารเข้มข้น ผิวแห้งเดิมๆ ขนาดองค์พระก็กำลังพอดี ขึ้นคอบูชาได้อย่างสบาย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สนใจหาพระกรุอายุเป็นร้อยปี ที่มีพุทธคุณในทางโชคลาภ ค้าขาย และแคล้วคลาด ในราคาไม่แพง

 

 

            ประวัติ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มีชื่อเป็นทางการว่า " วัดโมลีโลกยารามราชวรมหาวิหาร " หรือ " วัดโมลีโลกยาราม " ซึ่งชาวบ้านเรียกกันง่ายๆว่า " วัดท้ายตลาด " วัดท้ายตลาด ตั้งอยู่บริเวณหลังพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการ กองทัพเรือ) มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น ๑๒ ไร่ ๓ งาน ซึ่งวัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง

 

             มูลเหตุที่เรียกชื่อว่า วัดท้ายตลาด เนื่องมาจากวัดแห่งนี้ มีที่ตั้งอยู่ท้ายตลาดธนบุรีนั่นเอง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี และบริเวณพระราชวังเดิม(ปัจจุบันเป็นกองบัญชาการกองทัพเรือ) อยู่ระหว่างวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีฯ) ถึงรวมอุปจาร (บริเวณอาณาบริเวณ) วัดอรุณฯ และวัดโมลีฯ เข้าไปในเขตพระราชวัง มีฐานะเทียบเท่ากับวัดพระศรีสรรเพชญ์ฯ เมื่อครั้งสมัยกรุงศรีฯ และวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบัน วัดทั้งสองขึ้นเป็นพระอารามที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เลยตลอดสมัยกรุงธนบุรี จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษาในวัดทั้งสอง

 

            ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ทรงถวายพระนามวัดท้ายตลาด (วัดโมลีฯ) ว่า " วัดพุทไธสวรรค์ " ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณ์ ได้ถวายนามวัดท้ายตลาดใหม่ว่า " วัดโมลีโลกสุธาราม " ซึ่งสันนิษฐานว่าเหตุที่ทรงถวายพระนามพระอารามแห่งนี้ น่าจะมีที่มาจากชื่อว่า " โมลีโลกยาราม " นั่นเอง และคงจะเรียกสั้นๆว่า " โมลีโลกฯ " ภายหลังเมื่อต้องการจะให้มีคำว่า " อาราม " ต่อท้ายจึงกลายเป็น " โมลีโลกยาราม "

 

    ลำดับเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) เท่าที่มีการบันทึกไว้ ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงปัจจุบัน

ลำดับที่ ๑ พระพุทธโฆษาจารย์ (ศรี)

ลำดับที่ ๒ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน)

ลำดับที่ ๓ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)

ลำดับที่ ๔ พระธรรมไตรโลก (รอด)

ลำดับที่ ๕ พระธรรมเจดีย์ (อยู่)

ลำดับที่ ๖ พระราชานุพันธมุนี (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ต่อมาย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ

ลำดับที่ ๗ พระวิเชียรธรรมคุณาธาร (โสตถิ์ เปรียญ)

ลำดับที่ ๘ พระสนิมสมณคุณ (เงิน) ผู้สร้างพระนาคปรกใบมะขามอันลือชื่อ

ลำดับที่ ๙ พระประสิทธิศีลคุณ (จ้อย) ภายหลังย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีฯ

ลำดับที่ ๑๐ พระครูสังวรโมลี (ชาลี อุตตโร)

ลำดับที่ ๑๑ พระรัตนมุนี (โสม ปญญาวุฑโฒ)

 

            ณ. วัดท้ายตลาดแห่งนี้ ยังเคยเป็นสถานศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ก็เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ ๓ และยังถวายพระอักษรให้แก่รัชกาลที่ ๔ เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) มรณภาพลง รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดฯ ให้หล่อรูปประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัดเรียกกันว่า "หอสมเด็จ" (ทรงโปรดฯ ให้หล่อพร้อมกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ที่วัดราชสิทธาราม)

 

          พระกรุวัดท้ายตลาด หรือ วัดโมลีโลกยาราม เป็นแหล่งกำเนิดของพระกรุเนื้อผงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกกรุหนึ่ง ในช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ความมากมายหลากหลายของพิมพ์พระ ตลอดทั้งความงดงามอลังการทางกายวิภาคของพิมพ์ทรง ล้วนเป็นงานศิลป์ระดับช่างหลวง ยากที่บุคคลธรรมดาทั่วไปจะทำได้

 

           จากหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนในพระปางพิมพ์ต่างๆของพระกรุวัดท้ายตลาด ทำให้เชื่อได้ว่าพระพิมพ์ต่างๆเหล่านั้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตรงกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) เป็นเจ้าอาวาส และคาดว่าพระพิมพ์ต่างๆเหล่านั้น น่าจะมีจำนวนถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ ในการที่จะสร้างพระให้ได้จำนวนถึง ๘๔,๐๐๐ องค์นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ คนธรรมดายากที่จะสร้างได้ เพราะต้องใช้ทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์เป็นจำนวนมาก เฉพาะอย่างยิ่งพระพิมพ์วัดท้ายตลาดแต่ละพิมพ์นั้น เป็นการออกแบบที่ละเอียดอ่อนประณีตงดงามที่สุด ซึ่งน่าจะเป็นฝีมือช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยไม่ต้องสงสัย

 

           พระ “กรุวัดท้ายตลาด” แตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี ๒๔๘๐ เป็นพระเนื้อผงทั้งหมด มีส่วนผสมของว่านและเกสรดอกไม้๑๐๘ ผสมกับปูนขาว รวมทั้งเนื้อผงใบลาน เนื้อพระจึงมีสีค่อนข้างเขียวอมดำหรือเทาแก่

 

           ครั้งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ “วัดนางชี”กรุแตกขึ้นมา ก็พบพระเครื่องพิมพ์เดียวกันกับที่วัดท้ายตลาดอีกเป็นจำนวนมาก แต่เนื้อพระจะออกเป็นสีเขียวอ่อนปนขาวเหลือง และมีคราบกรุจับหนาด้วยฝ้าขาวนวลแน่น เช่นเดียวกับพระกรุวัดท้ายตลาด อันเป็นกรุต้นกำเนิด

 

           คล้อยหลังจากพระ “กรุวัดนางชี” แตก อีก ๑๐ ปีก็มีการพบพระพิมพ์ของวัดท้ายตลาดอีก ที่วัดตะล่อมซึ่งลักษณะของพระที่ได้จาก “กรุวัดตะล่อม”นี้ มีลักษณะเช่นเดียวกันกับของ “กรุวัดนางชี” จากวัดท้ายตลาดถึงวัดตะล่อม ๓กรุ ๓วัด ที่มีพระพิมพ์ของวัดท้ายตลาดขึ้นมา ล้วนต่างเป็นวัดที่อยู่ฝั่งธนบุรีทั้งสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องผิดแปลกประการใด พระกรุวัดท้ายตลาด อันเป็นกรุต้นกำเนิดพระพิมพ์เนื้อผงที่งดงามอ่อนช้อยทางพุทธศิลป์และกายวิภาค ยากที่จะหาใดเสมอเหมือนได้

 

           ลักษณะทั่วไปของพระกรุนี้ เนื้อพระโทนสีจะออกเทา จากเทาบางๆ จนถึงเข้มจนเกือบจะออกเป็นสีดำ เพราะมีส่วนผสมของผงใบลานเผารวมอยู่ด้วย ลักษณะคราบกรุ จะมีลักษณะคราบบางๆ คล้ายฝ้าสีขาวตามผิวองค์พระ เมื่อสัมผัสผ่านการใช้ คราบฝ้าเหล่านี้จะหายไป เนื้อจัดเป็นมันตามธรรมชาติ

 

            ส่วนของ “วัดตะล่อม”นั้น เป็นกรุที่บรรจุเอาไว้ใต้ฐานชุกชีพระประธาน ซึ่งเป็นปูน พระที่ได้จากกรุนี้ ตามผิวพระจะถูกปูนขาวจับเป็นคราบ เนื้อพระออกโทนอมเขียวเล็กน้อย

 

            ดังกล่าวไว้เบื้องต้นว่า “พระกรุวัดท้ายตลาด” เป็นพระที่มีพิมพ์มากที่สุด สันนิษฐานว่า น่าจะมีมากกว่า ๕๐ พิมพ์ขึ้นไป สำหรับที่นำมาลงไว้เป็นเพียงส่วนหนึ่งพบเห็นแพร่หลายเท่านั้น ด้านหลังของพระกรุวัดท้ายตลาด ไม่ว่าจะขนาดใหญ่ เล็ก หรือ จิ๋ว ก็ตาม พระทุกองค์ด้านหลังต้องมีตราอักขระ เลขยันต์ ปั๊มไว้ทุกองค์ อาธิ เช่น

๑.พระวัดท้ายตลาด พิมพ์พระปิดตาขัดสมาธิเพชร

๒.พระพิมพ์แม่พระธรณีเป็นมวยผม สี่เหลี่ยมใหญ่

๓.พระพิมพ์แม่พระธรณีเป็นมวยผม ห้าเหลี่ยม

๔.พระพิมพ์นางกวัก สี่เหลี่ยม

๕.พระพิมพ์พุทธนางกวัก

๖.พระพิมพ์ป่าเลไลยก์ใหญ่

๗.พระพิมพ์ป่าเลไลยก์เล็ก

๘.พระพิมพ์นาคปรกเต็มองค์

๙.พระพิมพ์ครึ่งองค์

๑๐.พระพิมพ์สังกัจจายน์

๑๑.พระพิมพ์ซุ้มปราสาท

๑๒.พระพิมพ์สมาธิแหวกม่าน

๑๓.พระพิมพ์เล็บมือ

๑๔.พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตร

๑๕.พระพิมพ์ยืนห้ามสมุทร

๑๖.พระพิมพ์ยืนถวายเนตร

๑๗.พระพิมพ์ยืนรำพึง

๑๘.พระพิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร

๑๙.พระพิมพ์พระเจดีย์

๒๐.พระพิมพ์มารวิชัย ข้างเส้น

๒๑.พระพิมพ์มารวิชัย ข้างเม็ด

๒๒.พระพิมพ์สมาธิเล็ก

๒๓.พระพิมพ์สมาธิข้างกนก

๒๔.พระพิมพ์หยดแป้ง

๒๕.พระพิมพ์สมาธิบัวสองชั้น

๒๖.พระกรุวัดท้ายตลาด พระพิมพ์ปางไสยาสน์ และอีกหลายๆพิมพ์เป็นต้น

 

          นอกจากนี้ยังมีพิมพ์อื่น ๆ ที่มีจำนวนน้อย และหายากมาก จนแทบไม่สามารถหารูปภาพและหลักฐานการบันทึกอีกจำนวนหนึ่ง

 

           การเปิดกรุนั้น วัดท้ายตลาดได้ถูกคนร้ายลักลอบเจาะมาช้านานแล้ว และทางวัดก็ได้ซ่อมแซมอยู่เสมอ ครั้นต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๕ คราวกรณีพิพาทอินโดจีน-ฝรั่งเศส ทางราชการกระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือขอพระเครื่องมายังวัดนี้ด้วย เพื่อมอบให้แก่ทหารและตำรวจเช่นเดียวกับที่ขอไปยังวัดต่างๆ พระประสิทธิสีลคุณ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงได้ดำริให้ขุดกรุพระเจดีย์รายในวัด และได้พระเครื่องออกมาเป็นอันมาก ทั้งได้พบพระเครื่องอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งบรรจุไว้ในปี๊บบัดกรี บนเพดานพระอุโบสถและเพดานหอสมเด็จฯ รวบรวมได้ทั้งสิ้นหลายพันองค์ ได้มอบให้แก่ทางราชการไปส่วนหนึ่ง พระกรุวัดท้ายตลาดที่พบเป็นพระเนื้อผงใบลาน พิมพ์ต่างๆ แต่ละพิมพ์ล้วนสวยงามด้วยศิลปะเป็นอย่างยิ่ง

 

พระกรุวัดท้ายตลาด พุทธคุณเด่น ในทางโชคลาภ ค้าขาย และแคล้วคลาด

 

ขอขอบคุณท่านเจ้าของข้อมูลทุกท่านครับ




หมวดหมู่ พระเนื้อผง / ดิน / ว่าน
ร้านพระ

พระเครื่องสวนจตุจักร

เบอร์โทรศัพท์ 0818740491 Line ID:ts872868
เมื่อวันที่ 2022-12-05
ยอดเข้าชม 244 ครั้ง
สถานะ 6,800 บาท
Scroll