รายการพระเครื่อง

ชื่อ พระกรุวัดนก พิมพพ์ใหญ่ข้างอุ (นิยมสุด)สวยเดิมๆ
ชื่อพระ พระกรุวัดนก พิมพพ์ใหญ่ข้างอุ (นิยมสุด)สวยเดิมๆ
รายละเอียดพระ
พระกรุวัดนก พิมพพ์ใหญ่ข้างอุ (นิยมสุด)สวยเดิมๆ


องค์นี้เป็นพิมพ์นิยม เนื้อผงใบลาน หน้าตาติดชัด ด้านข้างทั้ง๒ด้านมียันต์อุ คราบกรุขึ้นเป็นฝ้าขาวจับบางๆทั้งด้านหน้า-หลัง เนื้อหนาสีดำ แห้งแกร่ง และไร้รอยอุดซ่อม หรือหัก อยู่ในกรอบพลาสติกเก่า สภาพสวยเดิมๆ องค์พระมีขนาดเหมาะพอดี ขึ้นคอบูชาได้สบาย อายุพระเกือบร้อยปี มีประสบการณ์แก่ผู้บูชามายาวนาน ขนาดโดนหมากัด ฟัดจมเขี้ยวเสื้อผ้าขาดกระจุย ตามเนื้อตัวมีรอยเขี้ยวเต็มไปหมด แต่คมเขี้ยวหาได้เข้าเนื้อไม่ ราคาก็ยังถูกกว่าพระใหม่เสียอีก ท่านใดที่ยังหาพระของหลวงปู่ศุขไม่ได้ สู้ราคาไม่ไหว ใช้แขวนบูชาแทนพระของหลวงปู่ศุขได้เลย เพราะท่านก็มาร่วมปลุกเสกพระกรุนี้ด้วยครับ



กรุวัดนก (สกุณาราม) จังหวัดอ่างทอง
จังหวัดอ่างทอง มีชื่อ "วัดนก" ถึง 3 วัดด้วยกัน ได้แก่

วัดนก (ราชปักษี) ตังอยู่ในอำเภอเมือง

วัดนก (ราชสกุณา) ตั้งอยู่ในอำเภอวิเศษไชยชาญ

วัดนก (สกุณาราม) ตังอยู่ในอำเภอไชโย

กล่าวสำหรับวัดนก "สกุณาราม" อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ข้อมูลจากหนังสือ "เมืองอ่างทอง" อันจัดพิมพ์เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายในศุภวารมงคลสมัยที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ พ.ศ.2534 ว่า

"วัดสกุณาราม ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านสกุณา หมู่ที่ 5 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา อาคารเสนาสนะต่างๆ ประกอบด้วยพระอุโบสถสร้างใหม่ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร พระวิหารคอนกรีตและไม้กว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร ศาลาการเปรียญเป็นไม้ กว้าง 18 เมตร ยาว 30 เมตร กุฎีสงฆ์ 7 หลัง

ประวัติ ความเป็นมา เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่ต่อมาคงถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2416 จึงได้มาบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด 60 ไร่ 1 งาน 1 ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2517 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร

โบราณวัตถุ พระเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ เป็นพระเจดีย์ทรงกลมที่มีฐานสูง ที่ก้านฉัตรไม่มีเสาหาร อาจกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 23 ตอนปลายได้ แต่คงได้รับการซ่อมแซมในตอนกลางของพุทธศตวรรษที่ 25 อีกครั้ง"

ที่วัดนก (สกุณาราม) แห่งนี้มีกรุพระเครื่องเลื่องชื่อ ซึ่งอดีตเจ้าอาวาสวัดนาม หลวงปู่เฟื่อง เป็นผู้สร้างขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2460-2470 ในสมัยนั้นนอกเหนือจากหลวงปู่เฟื่องแล้ว วัดนก (สกุณาราม) ยังมีพระเกจิอาจารย์เลื่องนามอีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อทอง เป็นพระลูกวัด

พระสมเด็จวัดนกที่พบเห็นกันโดยมาก เป็นพระสมเด็จฐาน 3 ชั้น มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.3 เซนติเมตร
องค์พระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ ประทับบนอาสนะฐาน 3 ชั้น ภายในซุ้มประภามณฑล 2 ชั้น ระหว่างชั้นมีขีดคั่น ที่เรียกกันว่า ซุ้มประภามณฑลมีรัศมี แบบเดียวกับพระเครื่องของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เข้าใจว่าถ่ายทอดแบบกันออกมา

องค์พระมีพระพักตร์คมโตนูน เกศจะเป็นเกศสูงสองชั้น ปรากฏรอยผ้าสังฆาฏิอย่างชัดเจน ในส่วนของด้านหลังเรียบ และปรากฏรอยจารอักขระลงไปในเนื้อพระ เป็นตัว "อุ" บ้าง ตัว "เฑาะว์" บ้าง หรือตัว "อุณาโลม" บ้างบางองค์

อย่างไรก็ตามพระสมเด็จวัดนกยังมีหลายพิมพ์ทรงที่พบเห็นกัน พระสมเด็จฐาน 3 ชั้น ข้างอุ พระสมเด็จฐานบัว 2 ชั้น ฯลฯ

และเนื่องจากเป็นพระเครื่องที่ได้รับการบรรจุกรุ จึงปรากฏรอยคราบกรุให้เห็น แต่เดิมทีนั้นพระสมเด็จวัดนก (สกุณาราม) ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ปรากฏว่ามีการนำพระสมเด็จวัดนก (สกุณาราม) นี้ไปยัดเป็นของพระเกจิอาจารย์อื่นๆก็มี

จนเมื่อมีข่าวคราวของชาวบ้าน ที่พกพระสมเด็จวัดนก (สกุณาราม) นี้ไว้ในกล่องยาสูบ ไปเหยียบงูแมวเซาเข้า โดนกัดแต่ไม่เข้า อีกทั้งต่อมายังมีข่าวคราวเด็กในตลาดวิเศษไชยชาญ คล้องพระสมเด็จวัดนก (สกุณาราม) เลี่ยมขอบเงิน ไปโดนหมากัดชนิดเสื้อผ้าขาดกระจุย ตามเนื้อตัวมีรอยเขี้ยวเต็มไปหมด แต่คมเขี้ยวหาเข้าเนื้อไม่ นั่นแหละชื่อเสียงของพระสมเด็จวัดนก (สกุณาราม) จึงกระหึ่มขึ้นในท้องถิ่น


อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า...พระวัดนก(สกุณาราม) อ่างทอง เป็นพระเนื้อผงน้ำมัน มีหลายสี สีเขียว สีเทา สีดำ สีขาว สร้างขึ้นเมื่อปี 2453 โดยหลวงพ่อแก้ว ซึ่งท่านเป็นสหธรรมมิกกับหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท สร้างเรื่อยมาจนถึงปี 2475 โดยนิมนต์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมาร่วมปรกปลุกเสกด้วย แม่พิมพ์จึงมีศิลปะแบบเดียวกับพระเครื่องของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เข้าใจว่าคงได้รับคำแนะนำในการแกะแม่พิมพ์จากหลวงปู่ศุข

โดยพระเครื่องวัดนก จะเป็นเนื้อผงผสมว่าน108 ที่มีฤทธิ์ทางคงกระพันหนังเหนียว และผงประกำช้าง ลูกประกำช้างนั้น เป็นวัสดุอาถรรพ์ ช้างจะกลัวมาก หลวงพ่อแก้วได้นำมาตำผสมกับว่าน108 และผงพุทธคุณที่ท่านทำเตรียมไว้ก่อนล่วงหน้า จากนั้นนำมากดพิมพ์เป็นพระสมเด็จออกมา

เดิมที่วัดสกุณารามแต่โบราณใช้เป็นที่พักช้าง ให้ช้างได้พักผ่อน อาบน้ำให้ สะอาด ก่อนที่จะมุ่งหน้าเดินทางเข้าเมืองอยุธยา ซึ่งถือว่าเป็นเมืองหลวงต่อไป

พระสมเด็จวัดนก มีการสร้างกัน ๒ ยุค คือ ยุคแรกจัดสร้างโดย "หลวงพ่อแก้ว" ประมาณปี ๒๔๕๓ ถึง ๒๔๗๕ พระยุคแรกจะมีสีเขียวกับสีเทา โดยชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า "เนื้อหินลับมีดโกน" และได้มีการบรรจุกรุ เพื่อสืบต่อพระศาสนาเอาไว้ด้วย

ต่อมาเมื่อสิ้นยุค "หลวงพ่อแก้ว" แล้ว "พระปลัดเฟื่อง" ได้สร้างขึ้นสืบต่อมาอีก เพราะแม่พิมพ์ยังไม่ได้ทำลาย พระปลัดเฟื่อง ได้สร้างตามแบบฉบับหลวงพ่อแก้วทุกประการ แต่สร้างด้วยเนื้อสีขาวกับสีดำ


ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก

https://www.web-pra.com/Auction/Show/5166708

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันที่ 8 พ.ค.57


หมวดหมู่ พระกรุ
ร้านพระ

พระเครื่องสวนจตุจักร

เบอร์โทรศัพท์ 0818740491 Line ID:ts872868
เมื่อวันที่ 2023-03-12
ยอดเข้าชม 185 ครั้ง
สถานะ 12,000 บาท
Scroll