ชื่อพระ | พระกริ่ง หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี พิมพ์กลาง หลังบัวแปด สภาพสวย คลาสสิกแบบหล่อโบราณ |
รายละเอียดพระ | พระกริ่ง หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี พิมพ์กลาง หลังบัวแปด สภาพสวย คลาสสิกแบบหล่อโบราณ ***ประวัติ หลวงพ่อจาด**** หลวงพ่อจาด หรือ"พระครูสิทธิสารคุณ" ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2415 ณ บ้านดงน้อย อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อครั้งที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีน ระหว่างปี พ.ศ. 2481 – 2485 ประชาชนชาวไทยซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ต้องเผชิญกับภัยสงคราม ในครั้งนี้ประชาชนต่างหวาดกลัวภัยสงคราม จุดศูนย์กลางในการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับตนเองและครอบครัวคือ วัด และพระเกจิอาจารย์ พร้อมทั้งวัตถุมงคลต่างๆ ที่พระเกจิอาจารย์มอบให้คุ้มครองภัยในครั้งนั้น กล่าวกันว่าพระเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เลื่องลือว่าสร้างวัตถุมงคลทำให้ชาวต่างชาติขนานนามทหารไทยว่า “ทหารผี” ที่แผ่บารมีปกป้องคุ้มครองภัยทั้งทหารและชาวไทยที่มีวัตถุมงคลของท่านแล้วนำไปอาราธนาติดตัวตั้งแต่ปลายเล็บเท้าขึ้นไปถึงเส้นผมไม่ได้รับอันตรายใดๆ จนเป็นวลีติดปากมาจนถึงทุกวันนี้คือ “ จาด-จง-คง-อี๋ ” และพระกริ่งหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เป็นวัตถุมงคลอย่างหนึ่งที่หลวงพ่อจาด อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกระเบาเป็นประธานในพิธีปลุกเสกในยามนั้น อันเป็นที่เลื่องลือตั้งแต่อดีตจวบจนกระทั้งปัจจุบันว่า มีประสบการณ์อภินิหารเกี่ยวกับ “ อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดจากภยันตราย ปกป้องคุ้มครองภัย ชื่อเสียงเลื่องลือไกล เมตตามหานิยม และเจริญรุ่งเรื่องในอาชีพการงาน พร้อมทั้งอุดมไปด้วยโภคทรัพย์ ” พระกริ่งของไทย..มีการจัดสร้างมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระพนรัต อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ( วัดใหญ่ชัยมงคล ) ที่รวบรวมกรรมวิธีการสร้างและปลุกเสกไว้ ต่อมาได้ตกทอดเรื่อยมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งในบรรดาพระกริ่งจากสำนักต่างๆที่สร้างไว้ต่างก่อเกิดอภินิหารมากมาย แต่ถ้าจะพูดถึงความเลื่องลือในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีนคือ "พระกริ่งหลวงพ่อจาด" วัดบางกระเบา จังหวัดปราจีนบุรี เพราะได้ก่อประสบการณ์ให้กับผู้บูชาอาราธนาติดตัวในยุคนั้นว่า.."ใครมีไว้บูชาและอาราธนาติดตัวจะไม่มีวันตายโหง" และถ้าประพฤติดีปฏิบัติชอบจะเจริญรุ่งเรื่องในอาชีพการงาน และอุดมไปด้วยโภคทรัพย์... "หลวงพ่อจาด" ท่านออกเดินธุดงด์ไปในจังหวัดต่างๆรวมทั้งป่าดงดิบในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนหลายปี ได้พบกับพระเกจิดังในยุคนั้นมากมายโดยท่านเหล่านั้นได้ถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆให้ อาทิเช่น -หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ -และพระอุปัชฌาย์ พระครูปราจีน (หลวงพ่อทอง) จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น "หลวงพ่อจาด" ท่านยังได้แลกเปลี่ยนวิชากับพระสหธรรมิก และพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป อาทิ -หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก -หลวงพ่ออี๋ วัดสัตตหีบ -หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง -หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก -หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว -หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เล่ากันว่า...ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อจาด และ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ได้แลกเปลี่ยนวิชากันโดยหลวงพ่อเหลือ ได้เก็บใบมะขามมาได้ 3 กำมือ แล้วนำไปใส่พานไว้แล้วบริกรรมคาถา แล้วท่านหยิบใบมะขามในพานซัดไปในอากาศกลายเป็นตัวต่อบินว่อนไปในอากาศเต็มไปหมด ส่วนหลวงพ่อจาด ได้หยิบผ้าขาวออกมาจากย่ามแล้วเอามือรวบกำไว้พร้อมบริกรรมคาถา ผ้าขาวกลายเป็นกระต่ายสีขาว วิ่งวนไปมาแล้ววิ่งเข้าป่าหายวับไปกับตา โดยมีเรื่องราวเล่าขานกันมากมายโดยเชื่อว่าท่านสำเร็จวิชามากมายหลายอย่าง เช่น วิชาบังไพร วิชาล่องหนหายตัว และวิชามหาอุตม์ อยู่ยงคงกระพัน.. ต่อมา หลวงพ่อจาด ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางกระเบา และได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระครูจาด" ในปี พ.ศ.2447 เป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านสร้าง ในปี พ.ศ.2457 เป็นพระอุปัชฌาย์ ในปี พ.ศ.2461 และในปี พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูสิทธิสารคุณ" รายนามพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก "พระกริ่งหลวงพ่อจาด" ซึ่งแต่ละท่านล้วนแล้วแต่สุดยอดทั้งสิ้น อาทิเช่น 1.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ในฐานะประธานดำเนินงานและเจ้าพิธี 2.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3.หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม จังหวัดฉะเชิงเทรา 4.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตตหีบ จังหวัดชลบุรี 5.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จังหวัดนนทบุรี 6.หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา 7.หลวงพ่อเชิด วัดลาดบัวขาว จังหวัดฉะเชิงเทรา 8.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จังหวัดฉะเชิงเทรา 9.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี 10.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม 11.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ เป็นต้น "พระกริ่งหลวงพ่อจาด" วัดบางกระเบา นอกจากจะมีพิธีดีและพื้นที่ในการเททองและพิธีพุทธาภิเษกอันเป็นมงคลแล้ว ยังมีคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคมสูง มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกอีกมากมาย อีกทั้งการหล่อในครั้งนี้ยังเป็นพิธีการหล่อแบบโบราณ โดยการเอาพระกริ่ง พ.ศ.2479 ของสมเด็จสังฆราชแพฯ วัดสุทัศน์ ฯ มาเป็นต้นแบบ แต่ได้เพิ่ม “ อุ ” ไว้ที่กลางฐานด้านหลัง เพื่อไม่ให้ซ้ำกับพระกริ่งของสมเด็จสังฆราชแพฯ ซึ่งในพิธีเททองนั้น นอกจากประชาชนได้นำ ทองคำ, เงิน, สัมฤทธิ์, ทองแดง และทองเหลือง มาบริจาคร่วมหล่อแล้ว พระเกจิที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกก็ยังได้จาร แผ่นทอง, เงิน, นาก มาหล่อรวมเข้าไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง..หลวงพ่อจาด นอกจากได้นำแผ่นจารมาหล่อรวมแล้ว ท่านยังได้นำ "ตะกรุดลูกสะกด" ที่พระอาจารย์ท่านมอบให้มาหล่อรวมในครั้งนี้ด้วย... "พระกริ่งหลวงพ่อจาด" มีจำนวนการจัดสร้างรวมทุกพิมพ์ประมาณ 3,000 องค์ แยกออกได้เป็น 3 พิมพ์ คือ 1. พิมพ์ใหญ่ 2. พิมพ์กลาง ซึ่งแยกย่อยได้อีก 2 พิมพ์ คือ 2.1. พิมพ์กลางบัวเก้ากลีบ (พิมพ์นิยม..มีจำนวนน้อย..และหายากสุดๆ) 2.2. พิมพ์กลางบัวแปดกลีบ 3.พิมพ์เล็ก ซึ่งเมื่อหล่อพระเสร็จ "พระกริ่งหลวงพ่อจาด" จะมีวรรณะเหลืองปนขาวเล็กน้อย เป็นการหล่อแบบโบราณที่เททองแบบกริ่งในตัว เมื่อเสร็จเป็นองค์พระแล้ว เวลาเขย่าจะมีเสียงกริ่งโดยไม่ต้องนำเม็ดกริ่งมาใส่ จึงเรียกพระกริ่งที่เททองแบบนี้ว่า “ เทแบบกริ่งในตัว ” แล้วจึงตอกตะปูด้วยเนื้อชนวนเดียวกันกับองค์พระ รูที่อุดมีจำนวน 1 รู อยู่ด้านหลังองค์พระบริเวณองค์พระกับขอบฐาน ใต้ฐานองค์พระจะเรียบเสมอ แม้พระองค์นี้จะได้หล่อโดยช่างฝีมือดีที่สุดของประเทศไทยในขณะนั้นคือ "ช่างหรัส พัฒนางกูร" ช่างตำบลบ้านช่างหล่อ เป็นผู้เททอง แต่เนื่องจากในขณะนั้นบ้านเมืองอยู่ในเวลาคับขัน และความต้องการของหลวงพ่อจาดต้องการความเข้มขลังเป็นอันดับต้น จึงทำให้ขาดความประณีตสวยงาม แต่เปี่ยมล้นไปด้วยพุทธคุณอันล้ำเลิศ..ที่เรียกว่า เหนือคำบรรยาย เพราะประสบการณ์ด้านอภินิหารเป็นที่กล่าวขานกันอย่างมากมาย หรือที่ชาววงการเรียกว่า “ ครอบจักรวาล ” เลยที่เดียว "หลวงพ่อจาด"..ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2499 สิริอายุ 84 ปี พรรษา 63 |
หมวดหมู่ | พระกริ่ง |
ร้านพระ | ทองบ้านใน พระเครื่อง |
เบอร์โทรศัพท์ | 084-746-1623 |
เมื่อวันที่ | 2023-06-27 |
ยอดเข้าชม | 560 ครั้ง |
สถานะ | โชว์พระ |