ชื่อพระ | พระพุทธชินราช อินโดจีน พ.ศ.2485 ตอกโค๊ต พิมพ์แต่งใหม่ ฝีมือช่างโอเล็ก สวยงามมากๆ ปลุกเสกพิธีใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในแผ่นดินสยาม รวมสุดยอดพระเกจิแห่งเมืองไทย สุดยอดพุทธคุณ ท่านใดหาอยู่เชิญครับ |
รายละเอียดพระ | พระพุทธชินราช อินโดจีน พ.ศ.2485 ตอกโค๊ต พิมพ์แต่งใหม่ ฝีมือช่างโอเล็ก สวยงามมากๆ ปลุกเสกพิธีใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในแผ่นดินสยาม รวมสุดยอดพระเกจิแห่งเมืองไทย สุดยอดพุทธคุณ ท่านใดหาอยู่เชิญครับ รายละเอียด.... ย้อนประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่.."พระพุทธชินราชอินโดจีน ๒๔๘๕" สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ประธาน พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป ร่วมปลุกเสก คำขวัญที่ว่า สงครามมักก่อเกิดวีรบุรุษ แต่คงใช้กับเมืองไทยไม่ได้ คำขวัญของคนไทย คงต้องว่า สงครามมักก่อเกิดพระดัง ไม่มีสมัยไหน ที่คนไทยจะตื่นตัวและเกิดเลือดรักชาติมาก เท่าสมัยสงครามอินโดจีน อาจจะเป็นว่าคนไทยคงเก็บกดที่ถูก พวกฝรั่งมังค่ามากดขี่ยึดแผ่นดินบางส่วนของเราไป เมื่อจอมพลป.ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องดินแดนคืน ทำให้กระแสรักชาติช่วงนั้นรุนแรงมาก แม้แต่พระเกจิอาจารย์ก็ตื่นตัวอยากจะช่วยบ้านเมืองจึงมีการสร้างพระเครื่องขึ้นมากมาย เฉพาะที่กรุงเทพฯวัดใหญ่ๆเช่น วัดสุทัศน์ วัดชนะสงคราม วัดราชบพิตฯ แม้แต่ที่วัดดอนศาลา พระอาจารย์เอียดก็สร้างพระขึ้นมาแจกในยุคนั้นเช่นกัน พระพุทธชินราชอินโดจีน : เมื่อปี ๒๔๘๓ กลิ่นอายสงครามได้กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคอินโดจีน หลายประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ประเทศไทยก็คือหนึ่งในนั้น ทั้งๆ ที่พยายามหลีกเลี่ยงทุกวิถีทาง เพราะรัฐบาลและคนไทยต่างก็รู้ดีว่า ผลพวงจากสงครามท้ายที่สุดแล้วก็จะเหลือแค่เพียง "ความสูญเสีย" ในภาวะสงครามสิ่งที่เป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยก็คือ "สิ่งศักดิ์สิทธิ์-พระคู่บ้านคู่เมือง" แต่สำหรับทหารที่ต้องอยู่แนวหน้า "พระเครื่อง" ถือเป็นมงคลวัตถุคู่กายที่หลายคนต้องพกพาหาติดตัวไป ด้วยเหตุนี้เอง ชาวไทยในแนวหลังนำโดย "พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย" จึงตัดสินใจดำเนินงานสร้าง "พระพุทธชินราช" จำลองขนาดบูชาขึ้นมา พร้อมทั้ง พระพุทธชินราชขนาดเล็กแบบหล่อที่สามารถคล้องคอได้ ซึ่งแต่เดิมเป็นความตั้งใจของ ๒ สมาคมพุทธฯ คือ "พุทธธรรมสมาคม" และ "ยุวพุทธศาสนิกธรรม" แต่ต้องระงับเรื่องค้างไว้ตั้งแต่ปี ๒๔๘๓ เพราะเกิดสงครามอย่างหนัก และเมื่อสงครามอินโดจีนสงบลง ในปี ๒๔๘๕ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จึงเดินหน้าสานงานสร้าง "พระพุทธชินราช" อย่างจริงจัง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ ได้ประกอบพิธี เททองหล่อ ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ ก่อนที่คณะกรรมการ พุทธสมาคมจะมากราบทูล ขอพระเมตตา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ในเรื่องการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ทั้งนี้พระองค์ทรงพระเมตตาให้คณะกรรมการพุทธสมาคมนำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการพร้อมทั้งได้ทำพิธีเททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นในเวลานั้นถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ เพราะพระคณาจารย์ทั่วประเทศและพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์ พร้อมทั้งเดินทางมาร่วมเมตตาอธิษฐานจิตกันอย่างมากมาย การสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกพุทธสมาคมและคณะกรรมการกำหนดไว้ให้สร้างเพียงแค่ ๒ แบบ คือ พระบูชา และ พระเครื่อง โดยได้กรมศิลปากรเข้ามาช่วยดูแลการหล่อและออกแบบพิมพ์พระ พระบูชาที่จัดสร้างในคราวนี้ได้จำลองแบบจากองค์พระพุทธชินราช วัดใหญ่ เมืองพิษณุโลก โดยใช้กรรมวิธีการหล่อเป็นพระขัดเงา จากหลักฐานบันทึก การสร้าง ได้ระบุไว้ว่า "พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในครั้งนี้มีขนาดหน้าตักค่อนข้างใหญ่ ก่อนจะส่งไป ให้ทุกจังหวัดทั่วเมืองไทยไว้สักการบูชา และถ้าประชาชนคนไหนปรารถนาอยากได้พระบูชาไว้เป็นส่วนตัวต้องแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งส่งเงินค่าจัดสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ช่างจัดสร้าง ตามจำนวนที่แจ้งความจำนงไว้เท่านั้น" ในส่วนของพระเครื่อง คณะผู้ดำเนินงานได้ใช้กรรมวิธี ๒ แบบ คือ "หล่อ" และ "ปั้น" พระหล่อ จัดสร้างประมาณ ๙๐,๐๐๐ องค์ เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลืองเป็นหลักแต่สุดท้ายคัดเหลือสภาพสมบูรณ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์ เสน่ห์ของพระเครื่องพระพุทธชินราชแบบหล่อจะอยู่ที่ผิวพระและโค้ดใต้ฐานจะตอกเป็นรูปตรา "ธรรมจักร" และ "อกเลา" ซึ่งอกเลานี้ได้คัดลอกแบบ มาจากรูปอกเลาที่ติดอยู่หน้าบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก พระพุทธชินราชแบบหล่อนี้ในตอนแรกได้หล่อ "อกเลานูน" ติดไว้บริเวณใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ แล้วใช้วิธีตอกโค้ดแทนจนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดังนั้นพระในส่วนที่เหลือจึงไม่ได้ตอกโค้ด ในส่วนของราคาทางพุทธสมาคม นำออกให้เช่า บูชาองค์ละ ๑ บาท ถ้าองค์ไหนที่สภาพ สวยสมบูรณ์ราคาจะอยู่ที่ ๑.๕๐ บาท สำหรับพระพุทธชินราชแบบปั๊มได้ทำเป็นเหรียญลักษณะคล้ายใบเสมา ด้านหน้าเป็น รูปพระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลัง เป็นรูปอกเลา สร้างเป็น เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน ๓,๐๐๐ เหรียญ ราคาค่าบูชาเหรียญละ ๕๐ สตางค์ สำหรับเหรียญรุ่นนี้ อนาคตจะกลายเป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญยอดนิยม ของวงการ ราคาพระพุทธชินราชเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปี ๒๕๐๐ ที่วัดยังมีให้เช่าอยู่บางพิมพ์ในราคา ๑๐ บาท ปี ๒๕๑๐ ราคาที่วัดเพิ่มเป็น ๒๐-๒๕ บาท และคาดว่าน่าจะจำหน่ายหมดในปี ๒๕๒๐ ในราคา ๑๐๐ บาท จากนั้นในปี ๒๕๓๐ องค์ที่ไม่มีโค้ดราคาเพิ่มเป็นหลักพันต้นๆ ส่วนองค์ที่มีโค้ดราคา อยู่ในหลักพันปลายๆ ถึงหลักหมื่นต้นๆ ส่วนราคา ณ ปัจจุบันอยู่ที่หลักหมื่นกลางๆ บางองค์และบางพิมพ์ก็มีการเช่าซื้อกันในราคาหลักแสน เหตุผลที่ทำให้ราคามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ พิธีกรรมการปลุกเสก ซึ่งได้ใช้พระคณาจารย์ร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ), หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว, หลวงพ่ออี๋ วัดสัต***บ, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร, หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก, หลวงพ่อนาค วัดระฆัง เป็นต้น อีกเหตุผลหนึ่งคือ ความเชื่อทางพุทธคุณ เพราะ จุดประสงค์และ เจตนาการสร้าง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ของพุทธสมาคม นี้เพียงเพื่อต้องการให้ทหารและประชาชน ได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวในยามเกิดสงครามอินโดจีน แต่ปรากฏว่าหลังจาก สงครามอินโดจีนสงบลง ยังได้เกิดสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ทหารและประชาชน ที่ได้บูชาพระพุทธชินราช อินโดจีน ติดกายประสบพบ กับเหตุการณ์รอดชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ใจ หลายต่อหลายคน ซึ่งทุกคนต่างรับรู้ได้ถึงพระพุทธานุภาพและพระพุทธคุณ ของพระพุทธชินราช อินโดจีน กันเป็นอย่างดี จนมีเรื่องเล่าขานกันมากมาย พระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่หลายคนเชื่อว่า...เพียงแค่หลับตานึกถึงภาพองค์ท่าน ตั้งอธิษฐานจิตชีวิตก็จะพบแต่ความสุขและแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้ง ปวง นอกจากนี้แล้วจำนวนพระที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง มีการประมาณการ ว่าพระที่สร้าง ๘๔,๐๐๐ องค์ น่าจะหลงเหลืออยู่จริงประมาณ ๕๐% ด้วยเหตุผลที่ว่า หาย ชำรุด ขณะเดียวกันผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ มักมอบพระพุทธชินราชไว้ให้ญาติ หรือเพื่อนสนิท ไว้เป็นที่ระลึก จากความนิยมดังกล่าวนี้เอง ทำให้เกิดมีการปลอมแปลงขึ้น การปลอมแปลงนี้น่า จะเกิดขึ้นเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว หรือประมาณปี ๒๕๑๘ เพราะ พระเริ่มหายาก และมีราคาสูงขึ้น พระปลอมบางองค์ผ่านการใช้งานมานานเนื้อจัดจ้านมาก แต่มีข้อสังเกตที่ว่าพิมพ์ไม่ได้ โค้ดไม่ถูก รวมทั้งมีขนาดเล็กกว่าของแท้ อย่างไรก็ตาม มีการ ประมาณการว่าในตลาดพระเครื่องกรุงเทพฯ น่าจะมีพระปลอมเร่ขายประมาณ ๕๐% ส่วนตลาดต่างจังหวัดนั้นน่าจะสูงถึง ๙๐% ที่สำคัญคือ ฝีมือการปลอมทำได้ใกล้เคียงกับของแท้มาก บางองค์พระแท้แต่โค้ดปลอม ในขณะที่ส่วนให้ปลอมทั้งพระปลอมทั้งโค้ด ด้วยเหตุนี้จึงอยากเตือนผู้เช่าพระพุทธชินราชว่าไม่แน่จริงอย่าตัดสินใจซื้อตามลำพัง ถามเซียนที่ไว้ใจได้เป็นดีที่สุด หรือขอหลักประกันจากคนขายว่า หากเป็นพระไม่แท้ต้องรับคืนเงินให้ด้วย ประกอบพิธีในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา จัดสร้างโดยพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย พิธีปลุกเสกของพระรุ่นนี้จัดว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้นเลยก็ว่า ได้ พระชุดนี้ ทางวัดได้ทำการ แจกแก่ทหารหาญของไทย นำไปร่วมสมรภูมิการรบ ประสบการณ์คงกระพันชาตรีสุดยอด จนทหารไทย ได้รับสมญาว่า "ทหารผี" เพราะถูกยิงด้วยลูกปืนจนหงายท้องแล้วก็ยังลุกขึ้นมาจับปืนสู้ใหม่ได้อีก ชนิดที่ทำการสร้างพระพุทธชินราชจำลองที่สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1. พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้วขนาดห น้าตักขนาดใหญ่เพื่อสำหรับจัดส่งไปประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วเมืองไทย พระพุทธรูปชะนิดนี้ หากประชาชนปรารถนาจะสร้างไว้สำหรับสักการะบูชาของตนเอง ก็ขอให้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งส่งเงินค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาทไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจักได้รวบรวมจำนวนให้ช่างจัดการต่อไป 2. พระเครื่อง มีการสร้างพระเครื่องขึ้นเป็น 2 วิธีคือ โดยวิธีหล่อ และ โดยวิธีปั๊ม - พระเครื่องชนิดหล่อ จะทำการหล่อด้วยโลหะและมีรูปลักษณะทำนองพระยอดธง ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว และมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท - พระเครื่องชนิดปั๊ม จะสร้างขึ้นโดยวิธีปั๊ม มีรูปลักษณะคล้ายเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้วด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมห าธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์ ผู้ประกอบพิธี สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆ จากทั่วราชอาณาจักร พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัยของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่จะหาพิธีไหนมาเปรียบเทียบได้ยากยิ่ง รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเศก พระพุทธชินราชในปี พ.ศ. 2485 1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานในพิธี 2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินการควบคุมการจัดสร้าง 3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา 4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง 6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู 7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว 8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง 9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง 10.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว 11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด 12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ 13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง 14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ 15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา 16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ 17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก 18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์ 19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ 20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส 21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ 22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์ 23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา 24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ 25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ 26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค 27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ 28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ 29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี 30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง 31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ 32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม 33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม 34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ 35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน 36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน 37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด 38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก 39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ 40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ 41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ 42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ 43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง 44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน 45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ 46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ 47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ 48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ 49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม 50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์ 51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ 52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา 53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก 54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน 55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ 56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน 57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส 58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง 59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว 60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม 61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม 62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง 63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก 64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ 65.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง 66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ 67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว 68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง 69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า 70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง 71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา 72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง 73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า 74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี 75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ 76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม 77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม 78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์ 79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว 80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง 81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง 82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร 83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ 84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ 85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก 86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ 87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา 88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ 89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม 90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา 91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม 92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์ 93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง 94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม 95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง 96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง 97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร 98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร 99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ 100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด 101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย 102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ 103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ 104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง 105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา 106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น 107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ 108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี) |
หมวดหมู่ | รูปหล่อ |
ร้านพระ | ทองบ้านใน พระเครื่อง |
เบอร์โทรศัพท์ | 084-746-1623 |
เมื่อวันที่ | 2024-01-16 |
ยอดเข้าชม | 914 ครั้ง |
สถานะ | โชว์พระ |