รายการพระเครื่อง

ชื่อ พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ใหญ่ วัดระฆังฯ กรุงเทพฯ รองแชมป์งานสมาคมศูนย์ราชกาล+บัตรจี+ใบ X-ray ไม่มีหักและซ่อม สภาพเดิมๆ สภาพนี้หายากครับ นานๆจะเจอทีไม่หักไม่ซ่อม
ชื่อพระ พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ใหญ่ วัดระฆังฯ กรุงเทพฯ รองแชมป์งานสมาคมศูนย์ราชกาล+บัตรจี+ใบ X-ray ไม่มีหักและซ่อม สภาพเดิมๆ สภาพนี้หายากครับ นานๆจะเจอทีไม่หักไม่ซ่อม
รายละเอียดพระ พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ใหญ่ วัดระฆังฯ กรุงเทพฯ รองแชมป์งานสมาคมศูนย์ราชกาล+บัตรจี+ใบ X-ray ไม่มีหักและซ่อม สภาพเดิมๆ  สภาพนี้หายากครับ นานๆจะเจอทีไม่หักไม่ซ่อม

พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ พระสมเด็จปิลันทน์ปรกโพธิ์ใหญ่ หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์)"พระสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์"
พระปิลันทน์ สุดยอดพระสองสมเด็จ แห่งวัดระฆัง สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( ทัด ) ศิษย์เอกของ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เป็นพระเนื้อผงใบลานสีเทาและเนื้อผงสีขาว บรรจุกรุที่วัดระฆัง โดยมีการแตกกรุในปี พ.ศ. 2482-2483 ก่อนสงครามอินโดจีน มีพุทธคุณ เหมือนพระสมเด็จวัดระฆัง ของสมเด็จโต เพราะได้ผสมผงพุทธคุณของสมเด็จท่านด้วย รวมทั้ง ท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้ร่วมปลุกเสกด้วย
เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้วท่านจึงได้บรรจุพระเครื่องเหล่านี้ไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผู้เป็นพระอาจารย์

จึงเรียกว่า " พระสองสมเด็จ" แต่พระสมเด็จปิลันทน์ ยังมีพุทธคุณ คงกระพันชาตรีด้วย จากประวัติ ที่มีคนนำไปใช้แล้วมีประสบการณ์ ด้านนี้ด้วย

พระสมเด็จปิลันทน์ปรกโพธิ์ใหญ่ หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์)วัดระฆังฯ จ.กรุงเทพฯ
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง พุทธลักษณะ เป็นพระที่มีทั้ง พิมพ์นั่งสมาธิบนฐานต่าง ๆ และพิมพ์ยืน
จำแนกพิมพ์
พระปิลันทน์เป็นพระที่มีพิมพ์จำนวนมาก แต่จำแนกตามพิมพ์ที่นิยมกันได้ดังนี้
1. พระพิมพ์ซุ้มประตู
2. พระพิมพ์ครอบแก้วใหญ่
3. พระพิมพ์ครอบแก้วเล็ก
4. พระพิมพ์เปลวเพลิงใหญ่
5. พระพิมพ์เปลวเพลิงกลาง
6. พระพิมพ์เปลวเพลิงเล็ก
7. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ใหญ่
8. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก
9. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก ครอบแก้ว
10. พระพิมพ์ประทานพร หรือปฐมเทศนา
11. พระพิมพ์โมคคัลลาน์ - สารีบุตร
12. พระพิมพ์ฐานสามชั้น ซุ้มสาม

พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม ชื่อเต็มว่า "พระสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์" เป็นพระเนื้อผงใบลานเผา ส่วนใหญ่เนื้อออกสีเทาๆ
สร้างโดย หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์) ศิษย์เอกเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์) เป็นพระโอรสในกรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ (พระองค์เจ้าแดง) ในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) ประสูติเมื่อปี พ.ศ.2364 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2385 จำพรรษา ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ต่อมาปี พ.ศ.2413 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งชราภาพแล้ว
หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์) มรณภาพในปี พ.ศ.2443
การสร้างพระสมเด็จพระปิลันทน์นั้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2407 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ท่านได้ดำริสร้างพระพิมพ์ ให้ครบ 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติโบราณนิยม
ส่วนหนึ่งเพื่อแจกผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสไว้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตราย อีกส่วนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบสานบวรพระ พุทธศาสนา แบบและพิมพ์มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์มวลสาร จากพระอาจารย์ ดังนั้น ลักษณะที่เป็นเนื้อผงใบลานจึงสืบทอดตำราของสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ไว้ด้วย จะสังเกตได้จากเนื้อผงสีขาวภายใน นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังร่วมในการอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วย
พระสมเด็จปิลันทน์ เรียกได้ว่าเป็น พระสำคัญฝั่งธนบุรี คนเก่าแก่มักเรียกว่า "พระเครื่องสองสมเด็จ" เนื่องจากต่อมาท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระ พุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์) เช่นกัน
พระสมเด็จปิลันทน์ เปิดกรุเมื่อปี พ.ศ.2471 เนื่องจากมีผู้เข้าไปเจาะกรุพระเจดีย์เพื่อหวังทรัพย์สินของมีค่าเท่านั้น ไม่ประสงค์ในพระเครื่อง ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ท่านเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถในขณะนั้น เมื่อทราบเรื่องจึงให้นำพระเครื่องทั้งหมดมาเก็บไว้ในหอไตรฯ จนเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนท่านจึงนำ พระเครื่องส่วนหนึ่งมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่จะออกไปปฏิบัติราชการในสนามรบ
พระสมเด็จปิลันทน์ มีมากมายหลายพิมพ์ทรง อาทิ พิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่, พิมพ์ปรกโพธิ์เล็ก, พิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งสิ้น โดยเฉพาะ "พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู" ได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของ "พระชุดเบญจภาคีพระเนื้อผง" อีกด้วย
พระสมเด็จปิลันทน์พิมพ์ซุ้มประตูนี้ พบทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับยืน แสดงปางห้ามญาติ เหนือฐานบัว ภายใต้ซุ้มจระนำ ลักษณะเหมือนซุ้มประตูสลักเสลาอย่างงดงาม บนพื้นผนังมีอักขระยันต์ศักดิ์สิทธิ์รอบซุ้ม เนื้อพระปรากฏทั้งสีดำอมเทา สีเทา แกมเขียว บางองค์พบการปิดทองสวยงาม
โบราณมีคำกล่าวว่า "ปิลันทน์ดูไข บางไผ่ดูเสี้ยน" เนื่องจากว่าพระปิลันทน์ ทุกพิมพ์จะปรากฏคราบไขสีขาวขึ้นตามผิวขององค์พระ ปรากฏทั้งลงกรุและไม่ลงกรุ องค์ที่ลงกรุจะเห็นคราบไขขาวชัดเจน ส่วนที่ไม่ลงกรุจะมีจำนวนน้อยกว่า สาเหตุเข้าใจว่าท่านทำแรกๆ คงจะแจกญาติโยมไปแล้ว จึงมาบรรจุกรุในเจดีย์วัดระฆังโฆสิตาราม
วิธีการสังเกตคือ ขอบนอกจะทำเป็นสองชั้น ดูคราบไขสีขาว ส่วนที่ยื่นสูงจากพื้นถูกสัมผัสจะมันแวววาว ปลายล่างสุดของเสาซุ้มจระนำด้านล่างจะสอบแคบกว่าด้านบน และตัวเสามักมีลักษณะเอียงเล็กน้อยด้านใดด้านหนึ่ง น้ำหนักเบา ด้านหลังอูมนูนเล็กน้อย พบเรียบก็มี มีอักขระเลขยันต์ปรากฏอาจแตกต่างกันบางองค์ได้
หมวดหมู่ พระเนื้อผง / ดิน / ว่าน
ร้านพระ

ทองบ้านใน พระเครื่อง

เบอร์โทรศัพท์ 084-746-1623
เมื่อวันที่ 2020-02-29
ยอดเข้าชม 541 ครั้ง
สถานะ โชว์พระ
Scroll