รายการพระเครื่อง

ชื่อ ลูกอมเมฆสิทธิ์พระครูลืม
ชื่อพระ ลูกอมเมฆสิทธิ์พระครูลืม
รายละเอียดพระ ลูกอมเมฆสิทธิ์ พระครูลืม วัดอรุณ (วัดแจ้ง) ขนาด 1 เซนติเมตร พร้อมบัตรสมาคม สมญานาม กายสิทธิ์เขียวใบตอง เมฆสิทธิ์ยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของแผ่นดิน เมฆสิทธิ์ เป็นแร่ศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากการเล่นแร่แปรธาตุ ให้คุณในการกลับดวงหนุนดวงชะตาไม่ให้ตกต่ำในอดีตมีพระอาจารย์ที่สร้าง เมฆสิทธิ์ ที่ขึ้นชื่อ คือ พระครูทับ หรือ หลวงพ่อทับ วัดอนงค์ มีหลายวรรณะที่นิยมคือ เขียวเข้ม และ เขียวอมทองและ ยังมีอีกสำนักที่เป็นของยุคเก่าที่ใช้ดีทีเดียว คือ เมฆสิทธิ์ ของพระครูภาวนาวิจารณ์ (ลืม) วัดอรุณราชวราราม หรือ นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า พระครูลืม วัดอรุณ หรือ วัดแจ้ง ที่วรรณะจะต่างจากของหลวงพ่อทับ คือ สีออกเขียวอ่อน หรือ เขียวใบตอง พระครูลืมท่านเก่งทางวิชาการเล่นแร่แปรธาตุเป็นผู้หนึ่งที่สำเร็จวิชาการสร้างเมฆสิทธิ์ และ สร้างได้เข้มขลัง พระครูภาวนาวิจารณ์ (ลืม) นามเดิมว่า ลืม นามสกุล ปิยัมบุตร เป็นบุตรของพระยาปริยัติธาดา (เปี่ยม ปิยัมบุตร) และคุณหญิงส้มลิ้ม สันนิษฐานว่า ท่านเกิดที่บ้านซึ่งอยู่หน้าวัดชนะสงครามหรือมิฉะนั้นก็ที่บ้านริมทางรถไฟสายใต้ แขวงบางบำหรุ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ชีวิตในปฐมวัยได้เรียนหนังสือที่พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง แล้วออกรับราชการที่โรงภาษีร้อยชักสาม (กรมศุลกากร) ต่อมาเข้ารับราชการกรมทหารเรือ (โรงหล่อ) ได้อุปสมบทที่วัดสุวรรณาราม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์) วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาภาษาบาลีแต่ไม่ได้เข้าสอบแปล ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๑ ย้ายมาอยู่วัดอรุณราชวราราม และได้เป็นพระครูวินัยธรรม ฐานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ถทธิ์)ครั้นเมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) มรณภาพแล้ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงปรารภว่า พระครูวินัยธรรมลืม เป็นบุตรของอาจารย์ จึงตั้งเป็นพระครูประสิทธิ์พุทธมนต์ ฐานานุกรมในพระองค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ แล้วโปรดให้ย้ายมารักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ให้เลื่อนเป็นพระครูวิสุทธิธรรมภาณ ฐานานุกรมในพระองค์อีกครั้ง ท่านรักษาการอยู่ถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ก็กลับไปอยู่วัดอรุณราชวรารามตามเดิม ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ทรงพระกรุณาตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูภาวนาวิจารณ์และได้ ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ ดังประกาศในราชกิจจานุเบกษา พระครูภาวนาวิจารณ์ (พระครูลืม) พระมหาเถราจารย์ยุคเก่าผู้เชี่ยวชาญในสมถะและวิปัสนากรรมฐาน มีพุทธาคมแก่กล้า เข้มขลังในสรรพวิทยาคุณ พระชัยวัฒน์ที่ท่านได้เมตตาสร้างไว้บังเกิดอิทธิคุณและบุญฤทธิ์มากมาย ได้รับการจัดอยู่ในเบญจภาคีพระชัยวัฒน์ยอดนิยมของเมืองไทย เป็นที่เสาะแสวงหาของบรรดาเหล่าเซียนพระตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
~เมื่ออ่านจบแล้ว #ร่วมกันแชร์เผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชาครับ
#ประวัติพระครูภาวนาวิจารณ์ (พระครูลืม). นามเดิมว่า ลืม นามสกุล ปิยัมบุตร เป็นบุตรของพระยาปริยัติธาดา (เปี่ยม ปิยัมบุตร) และคุณหญิงส้มลิ้ม สันนิษฐานว่า ท่านเกิดที่บ้านซึ่งอยู่หน้าวัดชนะสงครามหรือมิฉะนั้นก็ที่บ้านริมทางรถไฟสายใต้ แขวงบางบำหรุ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ

พระครูภาวนาวิจารณ์ (ลืม)
ชีวิตในปฐมวัยได้เรียนหนังสือที่พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง แล้วออกรับราชการที่โรงภาษีร้อยชักสาม (กรมศุลกากร) ต่อมาเข้ารับราชการกรมทหารเรือ (โรงหล่อ) ได้อุปสมบทที่วัดสุวรรณาราม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์) วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาภาษาบาลีแต่ไม่ได้เข้าสอบแปล ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๑ ย้ายมาอยู่วัดอรุณราชวราราม และได้เป็นพระครูวินัยธรรม ฐานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ถทธิ์)
ครั้นเมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) มรณภาพแล้ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงปรารภว่า พระครูวินัยธรรมลืม เป็นบุตรของอาจารย์ จึงตั้งเป็นพระครูประสิทธิ์พุทธมนต์ ฐานานุกรมในพระองค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ แล้วโปรดให้ย้ายมารักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ให้เลื่อนเป็นพระครูวิสุทธิธรรมภาณ ฐานานุกรมในพระองค์อีกครั้ง ท่านรักษาการอยู่ถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ก็กลับไปอยู่วัดอรุณราชวรารามตามเดิม ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ทรงพระกรุณาตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูภาวนาวิจารณ์และได้ ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ ดังประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า
“พระครูภาวนาวิจารณ์ (ลืม) วัดอรุณราชวราราม อายุ ๕๒ ปี อาพาธเป็นไข้ ถึงแก่มรณภาพวันที่ ๑๓ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๔”

พระครูภาวนาวิจารณ์ (ลืม) รักษาการเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๖ – พ.ศ. ๒๔๕๙ รวมเวลา ๓ ปี

ที่มา* คัดจาก ประวัติวัดชนะสงคราม เรียบเรียงโดย พระมหาปกรณ์ พิมพ์ในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯ
หมวดหมู่ อื่นๆ
ร้านพระ

โชคเจริญทรัพย์

เบอร์โทรศัพท์ 0866278195 ID LINE 0866278195
เมื่อวันที่ 2020-03-28
ยอดเข้าชม 628 ครั้ง
สถานะ ปล่อยแล้ว
Scroll