รายการพระเครื่อง

ชื่อ กริ่งหลวงพ่อวิริยังค์ 2 องค์
ชื่อพระ กริ่งหลวงพ่อวิริยังค์ 2 องค์
รายละเอียดพระ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร กริ่งรุ่นแรก สร้างปี 2510 ตอน ฝึกหัดตนอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่มา : ชีวิตคือการต่อสู้ ประวัติและผลงาน พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เมื่อ สามเณรวิริยังค์บรรพชาเป็นสามเณรประมาณเดือนเศษ พระอาจารย์กงมาฯ มีกิจนิมนต์ต้องไปกรุงเทพฯ ด้วยความเป็นห่วงท่านจึงนำ สามเณรวิริยังค์ไปฝากไว้ที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าศรัทธารวม อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นวัดป่าที่อยู่ใกล้กองทหารและก็เป็นการฝึกฝนตนอีกครั้งหนึ่งกับพระอาจารย์ฝั้นฯ ของสามเณรวิริยังค์ วันหนึ่ง สามเณรวิริยังค์ก็ต้องแปลกใจ เพราะเห็นแมวตัวหนึ่งเป็นตัวผู้สีขาวแดงใหญ่ เดินจงกรมตามพระอาจารย์ฝั้นฯ หลังจากท่านเดินจงกรมเสร็จ สามเณรวิริยังค์ได้เข้าไปคอยฟังโอวาท เสร็จแล้วก็ทำการบีบนวดถวาย สามเณรวิริยังค์ได้ถามว่า “ทำไมแมวมันจึงเดินตามท่านอาจารย์” ท่านอาจารย์ตอบว่า “สอนมัน” สามเณรวิริยังค์ทวนคำ สอนแมวไม่ใช่ของง่าย ไม่เหมือนสุนัข ถ้าเป็นสุนัข สามเณรวิริยังค์จะไม่สงสัย สามเณรวิริยังค์จึงถามต่อไปว่า “ทำไมท่านอาจารย์จึงสอนแมวได้” ท่านตอบว่า “เอาใจสอน” เป็นอันว่าสามเณรวิริยังค์เข้าใจ วันหนึ่ง สามเณรวิริยังค์คิดว่า พระอาจารย์ฝั้นฯ นี้ จะเก่งเท่ากับพระอาจารย์ของสามเณรริริยังค์หรือเปล่าหนอ แต่เห็นฝึกแมวได้ ชักเชื่อว่าเก่งพอสมควรทีเดียว สามเณรวิริยังค์นี้เป็นผู้ที่ได้ฝึกจิตมาพอสมควรแล้ว และตั้งใจว่าจะศึกษาไปให้มากที่สุด ดังนั้นเมื่อได้มาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้นฯ สามเณรวิริยังค์ก็พยายามที่จะเข้าใกล้ชิดให้มากที่สุด จึงได้ขอเข้าทำการบีบนวดก็ให้โอกาส เป็นอันว่าสามเณรริริยังค์ได้อยู่ใกล้ชิดสมความตั้งใจ แม้จะเป็นระยะอันสั้น สามเณรริริยังค์ก็พยายามศึกษาอย่างเต็มที่ อยู่มาวันหนึ่ง มันเป็นเวลาดึกแล้ว สามเณรวิริยังค์อยู่เพียงลำพังผู้เดียวที่คอยปฏิบัติท่าน เพราะสามเณรอื่นพากันขี้เกียจ กลับไปนอนหมด สำหรับสามเณรวิริยังค์นั้นเป็นผู้มาใหม่ รู้สึกว่าท่านจะเกรงใจบางอย่าง หรือท่านอาจจะเข้าใจในตัวท่านว่า เราฝึกศิษย์ไม่ดีพอจึงทำให้ศิษย์ของท่านไม่เอาใจใส่ท่าน อาจจะเข้าใจว่าสู้ศิษย์ของท่านอาจารย์กงมาฯ เช่นกับ สามเณรวิริยังค์ไม่ได้ ครั้นจะให้ สามเณรวิริยังค์ไปตามพวกเณรเหล่านั้นมา ก็รู้สึกว่ายิ่งจะเป็นการเสียหายต่อท่านมากขึ้น ขณะนั้น สามเณรวิริยังค์จำต้องแปลกใจเหลือหลายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นสมเณรท่านองค์หนึ่ง เดินขึ้นบันไดมาโดยอาการมึนงง ตาก็ลืมนิดๆ เดินตรงรี่เข้ามาหา สามเณรวิริยังค์แล้วมองไปที่อาจารย์ฝั้นฯ เห็นท่านยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ แล้วสามเณรรูปนั้น ก็เดินไปที่กระติกน้ำร้อน จัดการชงชาพร้อมทั้งยกถวาย ท่านพระอาจารย์ฝั้นฯ ก็รับ รับแล้วก็ฉัน สามเณรวิริยังค์ยิ่งงงยิ่งขึ้นเมื่อสามเณรรูปนั้นขณะที่ทำงานทุกอย่างตาก็ลืมนิดๆ บางทีตาลืมขึ้นมามากแต่ก็ไม่มองอะไร สามเณรวิริยังค์สังเกตดูตาช่างไม่มีแววเอาเลย เอ นี่มันยังไงกัน หลังจากสามเณรทำทุกอย่างเกี่ยวกับถวายน้ำชาและเก็บกาน้ำถวายชาล้างเรียบร้อยแล้ว สามเณรรูปนั้นก็ทำตาปรือๆ เดินกลับกุฏิไป ท่านอาจารย์ฝั้นฯ ก็เอนหลังลงให้ สามเณรวิริยังค์บีบนวดต่อไป สามเณรวิริยังค์ทนไม่ไหวที่เห็นอากัปกิริยาของสามเณรรูปนั้นทำแปลก ยังกับไม่มีชีวิตจิตใจ จึงถามท่านอาจารย์ฝั้นฯว่า “ท่านอาจารย์ทำยังไง เณรจึงทำท่าทางเหมือนไม่มีจิตใจอย่างนั้น” ท่านตอบว่า “มันอยากขี้เกียจ ต้องทรมานมันมั่ง” “ทรมาน” สามเณรวิริยังค์ทวนคำ “หมายความว่า ท่านอาจารย์สะกดจิตอย่างนั้นหรือ” สามเณรวิริยังค์ถาม “ใช่” แล้วท่านก็ไม่พูดอะไรปล่อยให้สามเณรวิริยังค์บีบนวดจนเกือบเที่ยงคืน เมื่อท่านอนุญาตให้กลับแล้ว สามเณรวิริยังค์ได้ไปที่กุฏิสามเณรรูปนั้นด้วยความสงสัยอยากรู้ พอเปิดประตูเข้าไปสามเณรรูปนั้นหลับเงียบ สามเณรวิริยังค์คิดว่าไม่รบกวนละ พรุ่งนี้จะถามแต่เช้าทีเดียว รุ่งเช้า สามเณรวิริยังค์รีบลุกขึ้นเข้าไปรออยู่หน้ากุฏิสามเณรรูปนั้น พอเห็นหน้า สามเณรวิริยังค์ถามทันทีว่า “เมื่อคืนนี้ทำไมสามเณรจึงทำสะลืมสะลือแล้วเดินไปชงชาถวายท่านอาจารย์ แล้วอยู่ๆ ก็กลับเฉยๆ อย่างนั้นเณรทำไมทำอย่างนั้น” สามรูปนั้นตอบว่า “อะไรกัน ผมไม่ได้ไปกุฏิท่านอาจารย์นา ผมก็นอนอยู่นี่ทั้งคืน” สามเณรวิริยังค์ยืนยันอีกครั้งบอกว่า “ผมเห็นเณรทุกอิริยาบถ เณรจริงๆ ที่ไป ผมยังยิ้มกับท่านอาจารย์เลย” สมเณรรูปนั้นยืนงง และพูดว่า “ผมไม่ได้ไป” แล้วสามเณรรูปนั้นก็ผละจาก สามเณรวิริยังค์ไปบิณฑบาต สามเณรวิริยังค์ชักงงใหญ่ นี่มันอะไรกัน สามเณรวิริยังค์รำพึงในใจว่า พลังจิตนี้สามารถบังคับคนนอนหลับเดินมารับใช้และบังคับให้กลับไปนอน แหละคนถูกบังคับก็ไม่รู้สึกตัวมันแปลกแท้ๆ นี่มันปรากฏแก่สายตาของสามเณรริริยังค์จึงจำเป็นต้องเชื่อ ต้องเชื่อ ๑๐๐% ถ้าใครมาเล่าให้สามเณรริริยังค์ฟังจะไม่เชื่อเด็ดขาด แต่นี่เห็นตำตา ยังไงสามเณรริริยังค์ขอบันทึกไว้ในความทรงจำคือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๔๗๘ เวลา ๒๑.๓๐ น. เป็นวันที่สามเณรริริยังค์เกิดความเลื่อมใสท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร เพราะเหตุแห่งปาฏิหาริย์ ซึ่งมันก็ยังไม่ทำให้ใจของสามเณรวิริยังค์เชื่อว่าจะดีกว่าอาจารย์ของสามเณรริริยังค์ แต่ทำเอาสามเณรวิริยังค์ต้องเชื่อเอามากทีเดียว ในตอนตีสาม (๐๓.๐๐) เป็นเวลาที่ผู้ปฏิบัติหัดตนอยู่กับพระอาจารย์ จะต้องปลุกตัวเองตื่นขึ้นนั่งสมาธิ และ สามเณรวิริยังค์แม้จะบวชใหม่ก็พยายามที่จะปลุกตัวเองเสมอเพื่อความก้าวหน้าของการปฏิบัติ และก็รู้ตัวดีที่ท่านเองก็ต้องลำบากหนักหนากว่าจะได้มาบวชกับเขา จึงทำให้ สามเณรวิริยังค์มุมานะอยู่ตลอดเวลา ถึงอย่างนั้นเจ้ากิเลสตัวการมันก็คอยเล่นงานสามเณรตลอดเวลา จึงทำให้การปลุกตัวเองให้ตื่นตอนตีสามนั้นต้องเสียไป โดยไม่ยอมตื่นเป็นบางวัน ในคืนวันหนึ่ง สามเณรวิริยังค์กำลังนอนเพลิน เวลาก็เลยตีสาม ไปแล้ว ท่านอาจารย์ฝั้นฯ ท่านทราบได้ยังไง ท่านเอาไม้เท้าเคาะกุฏิที่สามเณรริริยังค์กำลังนอนเพลินอยู่ ทำให้สามเณรริริยังค์ต้องตกใจสุดขีด ลุกขึ้นโดยพลัน พลางคิดว่า “เราผิด-เราผิด” ต้องขอบใจพระอาจารย์ฝั้นฯ อย่างยิ่งที่ท่านได้มาปลุกเรา ดีใจเพราะรับคำเตือนที่มีค่าที่สุด วันหนึ่งประมาณหนึ่งทุ่ม สามเณรวิริยังค์ได้ยินเสียงเรียกชื่อว่า “วิริยังค์ๆ ๆ มานี่เร็วๆ” ขณะนั้น สามเณรวิริยังค์กำลังเดินจงกรมอยู่ สามเณรวิริยังค์คิดว่าคงมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น สามเณรวิริยังค์รีบออกจากจงกรม ตรงไปที่ท่านอาจารย์ฝั้นฯ เมื่อไปถึงท่านได้ชี้ไปที่นกตัวหนึ่ง (นกเค้า) กำลังนอนดิ้นพราดๆ อยู่ ท่านบอกให้ สามเณรวิริยังค์รีบไปช่วยมัน สามเณรวิริยังค์รีบจับนกตัวนั้นขึ้นมาเป่าก้นมัน เพื่อให้ฟื้น แต่ยิ่งเป่ามันก็ยิ่งตัวอ่อนลงๆ จนตาย สามเณรวิริยังค์ถามท่านอาจารย์ว่า "นกมันเป็นไร?" ท่านตอบว่า “เราเพ่งจิตใส่มันเพราะมันร้องหนวกหูไม่หยุด แต่เพ่งแรงไปหน่อยมันเลยตาย” สามเณรวิริยังค์ได้เดินกลับแล้วโยนนกนั้นทิ้งเข้าป่าไป แล้วมาคิดว่า “เอนี่ยังไงกัน มันเป็นความจริงหรือที่นกตายเพราะท่านอาจารย์เพ่งจิตหรือมีตัวอะไรกัดมันกระมัง” แต่มาคิดถึงตอนท่านสะกดจิตเณรมารับใช้คืนนั้น เลยเชื่อสนิทใจ คิดว่าท่านคงไม่โกหกเราและจะมาโกหกเราเอาประโยชน์อะไรกัน สามเณรวิริยังค์คิดต่อไปอีกว่า "ท่านพระอาจารย์ฝั้นฯ นี่เก่งจริง ทำเอาเราอัศจรรย์ใจหลายหนแล้ว” เมื่อปรากฏการณ์ได้ประจักษ์แก่ สามเณรวิริยังค์หลายหนเช่นนี้ สามเณรวิริยังค์ก็สนใจเป็นพิเศษ พยายามทบทวนถึงการปฏิบัติจิตของตนว่าเราควรจะได้ศึกษาอิทธิวิธีอย่างของท่านอาจารย์ฝั้นฯบ้าง ท่านคงเล็งเห็นประโยชน์อันจะเกิดกับเราหลายประการ มิฉะนั้นทำไมอาจารย์ใหญ่ๆ องค์อื่นท่านจึงไม่นำเราไปฝากฝัง ท่านอาจารย์กงมาฯ คงจะให้เราได้ศึกษาอะไรๆ ที่พิเศษของท่าน อาจารย์กงมาฯ คงจะเห็นอุปนิสัยวาสนาของเรา ซึ่งอาจจะได้ความรู้อะไรหลายๆ อย่างพะอาจารย์ฝั้นฯ ได้เป็นแน่ เมื่อ สามเณรวิริยังค์ได้คิดเช่นนี้แล้ว ก็เริ่มตั้งใจฟังโอวาทของท่านอาจารย์ฝั้นฯ และพยายามหาโอกาสศึกษาอย่างใกล้ชิด โดยยอมตนลงเป็นผู้อุปัฏฐาก ท่านนับแต่ล้างบาตร ปูที่นอน ตักน้ำถวายสรง บีบนวด อย่างที่ไม่มีอะไรแข็งกระด้างเลยในใจและกิริยาภายนอก ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นอาจารย์ของตน แม้พระอาจารย์ฝั้นฯ ท่านก็ให้โอกาสแก่ สามเณรวิริยังค์ทุกประการในเวลาอันไม่นานนัก สามเณรวิริยังค์ก็สนิทสนมกับท่านในฐานะศิษย์และอาจารย์ ในวันหนึ่งเป็นวันพระ มีโยมมาจำศีลอุโบสถประมาณ ๒๐-๓๐ คน โดยมากเป็นคุณหญิงคุณนายที่มาจากกรมทหาร บ่าย ๓ โมงวันนั้น อาจารย์ฝั้นฯ ได้เทศน์โดยปรกติ สามเณรวิริยังค์ได้นั่งฟังเทศน์ของท่านอย่างใจจดใจจ่อในวันนี้ ท่านได้แสดงว่า “คนเรานี้สำคัญอยู่ที่ใจ ถ้าใจดีแล้วอะไรๆ ก็ดีหมด ลูกก็ดี ภรรยาก็ดี สามีก็ดี บ้านก็ดี ของใช้ก็ดี ถ้าใจไม่ดีแล้ว ลูกก็ไม่ดี ภรรยาก็ไม่ดี สามีก็ไม่ดี ของใช้ก็ไม่ดี ทำอย่างไรใจของเราจึงจะดี พุทโธเข้าซิ พุทโธเข้า ภาวนาเข้า ทำจิตใจให้เป็นสมาธิเข้า ใจไปสู่สุคติแน่นอน จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปฏิกังขา จิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติ เป็นที่หวังได้ จิตเตสังกิลิฏเฐ ทุคติ ปฏิกังขา เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นที่หวังได้ ท่านได้ยกตัวอย่าง เช่น อาตมานี้ หนังสือก็เรียนไม่ได้มาก เขียนก็ไม่เก่ง อ่านก็ไม่ได้เท่าไร แต่อาตมาฝึกจิตให้มากและได้ที่ อาตมาเทศน์ก็ได้ไม่ต้องดูหนังสือ ทำอะไรก็ได้” วันหนึ่งหลังจาก สามเณรวิริยังค์ได้บีบนวดถวายท่านเป็นเวลากว่า ๒ ชั่วโมง ท่านได้ลุกขึ้น สามเณรวิริยังค์ได้รีบกราบเรียนท่านแล้วขอโอกาสเรียนวิธีการฝึกพลานุภาพของจิตกับท่าน สามเณรวิริยังค์ได้เท้าความจากพระธรรมเทศนาของท่านในคำพูดที่ว่า “ถ้าเราฝึกจิต จะทำอะไรก็ได้” “กระผมมีความประสงค์จะทำจิตให้เกิดพลานุภาพเหมือนท่านอาจารย์ ผมจะทำอย่างไร ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยแนะนำให้กระผมด้วย” ท่านอาจารย์ฝั้นฯ ท่านดุเอาว่า “นี่แน่ะเณรฯ เธอยังเป็นผู้ฝึกหัดใหม่จะมาคิดทำจิตให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยเฉพาะพลานุภาพนั้น เดี๋ยวจะเกิดฟุ้งซ่านกันใหญ่จะเสียผลอันเกิดแท้จริง” สามเณรวิริยังค์ได้กราบเรียนท่านว่า “กระผมมีความประสงค์ เพื่อความจริงในพระพุทธศาสนาและรับรองว่า กระผมจะไม่สึกและจะปฏิบัติไปจนตาย กระผมอัศจรรย์ที่ท่านอาจารย์ได้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ กระผมใคร่อยากรู้หนทางบ้าง ว่าวิธีทำจะทำอย่างไร” ท่านอาจารย์ฝั้นฯ ได้บอกว่า “อย่าเลยเณร เรื่องนี้มันเกิดขึ้นเฉพาะตัวใครตัวมัน จะเอาอย่างกันไม่ได้หรอก” สามเณรวิริยังค์ไม่ลดความพยายามถามท่านต่อไปว่า “เวลาท่านอาจารย์จะใช้พลังจะใช้พลังจิตนั้นท่านอาจารย์ได้กำหนดจิตอย่างไร?” ท่านอาจารย์ตอบว่า “จิตที่จะเกิดพลังได้ ก็ต่อเมื่อได้อบรมเป็นสมาธิครั้งแล้วครั้งเล่า จนเกิดกระแสจิตหากว่าผู้ใดมีกระแสจิตแกกล้า อันกระแสจิตนี้เองที่จะทำอะไรก็ได้” สามเณรวิริยังค์ได้ถามอีกว่า “ท่านอาจารย์กว่าจะทำได้เช่นกับการสะกดจิตสามเณรมารับใช้คืนนั้น กระผมเห็นกับตา ท่านอาจารย์ได้ฝึกมากี่ปีครับ” ท่านอาจารย์ฝั้นฯ บอกว่า “ตั้งแต่เราฝึกมานี้ ๑๐ กว่าปี แต่เณรเอ๋ย อย่าคิดทำอย่างเราเลย เดี๋ยวจะฟุ้งซ่านเปล่าๆ” สามเณรวิริยังค์เรียนท่านว่า “กระผมจะพยายามมิให้จิตฟุ้งซ่าน แต่จะพยายามสร้างกระแสจิตให้แก่กล้าเท่านั้น” พระอาจารย์ฝั้นฯ ท่านสำทับว่า “หากเณรจะทำจริงๆ เราขอเตือนว่า อันว่ากระแสจิตนี้หากว่ามันจะเป็นขึ้นมาจริงๆ นอกเหนือจากทำให้เกิดพลานุภาพแล้ว ต้องดำเนินจิตเข้าสู่วิปัสสนา จึงจะถูกตามคำสอนของพระพุทธเจ้า” สามเณรวิริยังค์ดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ฟังคำอธิบายเป็นครั้งแรกที่ว่าให้ทำจิตจนเกิดกระแสจิต สามเณรวิริยังค์กราบลาท่านในคืนนั้น และได้คำนึงถึงอุบายนั้นอยู่ตลอดเวลา สามเณรวิริยังค์ได้อยู่กับท่านเป็นเวลา ๔ เดือนเศษ ได้คุ้นเคยกับพระองค์หนึ่งชื่อว่าพระพุทฒา (ภายหลังท่านได้เป็นสมภารอยู่วัดเขาพระบาทภูพานคำ เขื่อนอุบลรัตน์เป็นเจ้าอาวาสนอยู่ที่วัดเขื่อนอุบลรัตน์ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น) สามเณรวิริยังค์ควรจะทบทวนอีกตอนหนึ่ง เมื่อได้เดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ แล้ว สามเณรวิริยังค์ได้พบกับพระอาจารย์ฝั้นฯ อีกครั้งที่จังหวัดสกลนคร ระหว่างนั้นพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระยังมีชีวิตอยู่ และอยู่ด้วยกันกับท่านบนภูเขาดอยธรรมเจดีย์ ขณะที่บิณฑบาต กำลังเดินไปตามไหล่เขา มีนกฝูงหนึ่งบินฉวัดเฉวียนอยู่บนอากาศท่านอาจารย์ฝั้นฯ ท่านพูดว่า "นั่นนกอะไรกัน" พอดีท่านเหยียดมือออก นกได้ตกลงที่มือของท่าน สามเณรวิริยังค์ระลึกถึงเมื่อคราวที่ท่านให้ช่วยชีวิตนกเมื่ออยู่ที่วัดศรัทธารามทันที สามเณรวิริยังค์นึกว่านกตัวนี้ต้องตายอีกละกระมัง สามเณรวิริยังค์รีบเดินเข้าไปเพื่อจะจับนกที่มือของท่าน มันช่างเชื่องอะไรเช่นนั้น แต่มันไม่ตาย สามเณรวิริยังค์พูดกับท่านอาจารย์ฝั้นฯ ว่า “นกไม่ตาย ผมนึกว่าจะตายเหมือนคราวก่อนเสียแล้ว” ท่านอาจารย์ฝั้นฯ ตอบว่า “เดี๋ยวนี้เราคำนวณกะจิตให้พอดีได้แล้วมันไม่ตายหรอกวิริยังค์” ครู่เดียวนกตัวนั้นมันก็บินขึ้นไปบนอากาศ ปะปนกับหมู่นกทั้งหลาย ทำเอาสามเณรวิริยังค์อัศจรรย์ใจเป็นหนักหนาที่ว่าท่านมีพลานุภาพของใจเป็นอย่างดี และท่านก็ได้พยายามลำดับพลานุภาพใจของท่านให้เหมาะสมได้ และ สามเณรวิริยังค์แปลกใจที่ท่านทำอิทธิในขณะที่สามเณรวิริยังค์มาพบกับท่านครั้งนี้อีก พร้อมมีพระเณรเดินตามกันมาหลายองค์ แปลกใจ เพราะเหตุใด ท่านประสงค์อะไร จึงทำให้สามเณรวิริยังค์เห็นเป็นขวัญตาอีก ภายหลัง สามเณรวิริยังค์ได้มีโอกาสอยู่กับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ จึงเล่าเรื่องพระอาจารย์ฝั้นฯ ที่ทำอิทธิต่างๆ ที่ สามเณรวิริยังค์ได้เห็นมาถวาย ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านพูดว่า “สำหรับท่านฝั้นนั้นนับเป็นพระเถระมีพลังจิตสูงองค์หนึ่ง แต่เป็นวิชาที่เป็นอดีตบุญได้เคยสร้างพลังจิตนี้มาก่อน ท่านฝั้นฯ จึงเป็นผู้มีความสามารถในทางที่จะรวบรวมจิตของผู้อื่น หมายความว่าช่วยผู้อื่น ได้ในทางจิตเช่น ช่วยให้จิตสงบ ขณะที่ผู้อื่นกำลังฟุ้งซ่านหรือขณะที่ใครๆ นั่งใกล้ท่าน จะได้รับความเย็นใจด้วยพลานุภาพของจิต" สามเณรวิริยังค์ได้ถามว่า “มีศิษย์ของพระอาจารย์องค์ใดบ้างที่ทำจิตได้ขนาดท่านอาจารย์ฝั้นฯ?” ท่านตอบว่า “มีมากองค์ แต่ว่ามีพลานุภาพไปคนละแนว” สามเณรวิริยังค์ถามต่อไปว่า “แนวไหนบ้างที่ศิษย์ของพระอาจารย์ได้ดำเนินอยู่” ท่านบอกว่า “ก็แนวฤทธิ์ แนวปัญญา และอย่างอื่นๆ อันที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น” สามเณรวิริยังค์ยังสงสัยว่า ระหว่างอาจารย์สามเณรวิริยังค์ (พระอาจารย์กงมาฯ) กับพระอาจารย์ฝั้นฯ ใครจะเก่งกว่ากัน เป็นปัญหาอยู่ในใจของ สามเณรวิริยังค์มานานแล้ว โอกาสนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ถามพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ สามเณรวิริยังค์ถามท่านตรงๆ ว่า “ท่านอาจารย์ฝั้นฯ กับ พระอาจารย์กงมาฯ ทั้ง ๒ องค์นี้ องค์ไหนเก่งกว่ากัน” พระอาจารย์มั่นฯ ท่านยิ้มพูดว่า “วิริยังค์ เธอคงคิดว่าอาจารย์ของเธอเก่งกว่าละซี” สามเณรวิริยังค์นึกในใจว่า “ใช่” ท่านพูดต่อไปว่า “ท่านฝั้นเก่งทางฤทธิ์ ท่านกงมาเก่งทางปัญญา เหมือนกับพระโมคคัลลานะเก่งทางฤทธิ์ พระสารีบุตรเก่งทางปัญญา แต่พระโมคคัลลานะ นั้นไม่มีลูกศิษย์มากเหมือนพระสารีบุตร ปรากฏว่าพระสารีบุตรมีลูกศิษย์ที่เป็นพระอรหันต์มาก” ก็นับว่า สามเณรวิริยังค์ได้ความกระจ่างแจ้งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งว่า สำหรับผู้ที่จะพึงทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนานั้นย่อมมีแตกต่างกัน และต่างก็มีความดีคนละอย่าง ในองค์ของแต่ละท่านนั้นย่อมมีความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันที่จริงการอยู่กับพระอาจารย์ฝั้นฯ ในระหว่าง ๓-๔ เดือนนี้เป็นการได้รับประโยชน์อย่างมากสำหรับ สามเณรวิริยังค์ทั้งยังได้พบสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ พร้อมกับศึกษาปรจิตวิชาไปในตัวด้วย นับว่าเป็นพื้นฐานต่อมาได้เป็นอย่างดี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๗๘ ท่านอาจารย์กงมาฯ ท่านได้กลับจากรุงเทพฯ และได้เลยมาที่วัดป่าศรัทธารวม เพื่อมารับสามเณรวิริยังค์กลับไปวัดป่าสว่างอารมณ์ เมื่อท่านอาจารย์ทั้ง ๒ ได้พบกัน พระอาจารย์ฝั้นฯ ได้เอ่ยขึ้นว่า “แหมกงมาฯ ได้ลูกศิษย์ดีนี่ อยู่กับผมมาหลายเดือนตั้งใจปฏิบัติไม่ขาด ต่อไปภายหน้าเณรวิริยังค์นี้จะต้องได้ดิบได้ดี เพราะเป็นคนเข้าใจปฏิบัติครูบาอาจารย์ อธิบายธรรมต่างๆ เข้าใจง่าย ไม่ดื้อรั้น ใช้อะไรเท่าไรไม่เคยมีบ่นว่าเหนื่อย ท่าทางเข้าทีดี” สามเณรวิริยังค์ได้ฟังก็รู้สึกขนลุก ทำไมท่านอาจารย์ฝั้นฯ มายกย่องเราต่อหน้าพระอาจารย์ของเราและตัวเรา แต่สามเณรวิริยังค์ก็นั่งก้มหน้าทำเหมือนไม่เข้าใจหรือไม่เอาใจใส่ที่ผู้ใหญ่เขาพูดกัน พระอาจารย์กงมาฯ ตอบพระอาจารย์ฝั้นว่า “เณรวิริยังค์เป็นคนดีเพราะศรัทธาแก่กล้ามาก กว่าเธอจะได้บวชนั้นต่อสู้เหลือหลาย ถ้าเป็นเด็กอื่นคงจะไม่ได้มาบวชอย่างนี้ดอก” ตอนบ่ายวันนั้นพระอาจารย์กงมาฯ ก็พาสามเณรวิริยังค์กลับไปวัดป่าสว่างอารมณ์โดยทางรถไฟ ที่มา : ชีวิตคือการต่อสู้ ประวัติและผลงานพระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ได้ถึงแก่การมรณภาพ ในวันอังคาร ที่ 22 เดือนธันวาคม พ.ศ.2563 เวลา 07.32 น. สิริอายุ 100 ปี 11 เดือน 15 วัน 80 พรรษา “ เมื่อใจมีศรัทธา ปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นเสมอ “
หมวดหมู่ พระกริ่ง
ร้านพระ

โชคเจริญทรัพย์

เบอร์โทรศัพท์ 0866278195 ID LINE 0866278195
เมื่อวันที่ 2020-12-26
ยอดเข้าชม 172 ครั้ง
สถานะ โทรถาม
Scroll