รายการพระเครื่อง

ชื่อ สมเด็จบางขุนพรหม (ชำรุด)
ชื่อพระ สมเด็จบางขุนพรหม (ชำรุด)
รายละเอียดพระ พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ (ชำรุด) พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดย เสมียนตาเจิม และปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบ ไหว้พระคุณอันประเสริฐของท่าน ปีพุทธศักราช ๒๔๑๐ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มทาการก่อสร้าง พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์(ยืนอุ้มบาตร)โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานรากและควบคุม การก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร อันเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็น สามเณร ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรษฐ และเครือญาติได้ปวารณา ตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ "เสมียนตราด้วง" ต้นสกุล "ธนโกเศศ" ได้ทาการบรูณะพระอาราม วัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจาตระกูล ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ บรรพบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึง ได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จ เพื่อสืบทอดทางพระพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จโตได้ให้อนุญาต และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากข้อเขียนของนายกนกสัชฌุกรที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรซึ่งมีชีวิตทันสมเด็จพระ พุฒาจารย์(โต)พรหมรังสีความว่าได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระและทุกครั้งที่ตำผงในครก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้างตามอัธยาศัย จนกระทั่งแล้ว เสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้วเสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆ ตรงตามตำรา การสร้างพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทุกประการ ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้นมีการจัดสร้างและแกะพิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดจานวน ๙ พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็น ฝีมือช่างในยุคเดียวกันมีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัด ระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมจึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆัง จำนวนที่สร้างสันนิษฐานกันว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้าง เสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูนการปลุกเสกโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์และปลุกเสกเดี่ยว จนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา เมื่อได้ปลุกเสกเป็นที่สุดแล้วได้มีการเรียกชื่อ พระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลที่ตั้งของพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้นไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด รวมทั้งมีข้อ สันนิษฐานว่า ได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วยดังที่หลาย ๆ ท่านนิยมเรียกกันว่า “พระสองคลอง” หลังจากที่ได้บรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ทั้งสองแล้วต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จนกระทั่ง เกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และในกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๒๕ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๖ ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๕๙ ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนี้ ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่าง ๆ เช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดิน เหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือกหย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้นำ้กรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศเพื่อให้น้าไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่ง การลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้นพระสมเด็จที่ได้จะอยู่ในส่วนบนจึงสวย และมีความสมบูรณ์ นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบกรุเพียงเล็กน้อย หรือบางๆ เท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงามเนื้อหนึกนุ่ม เนื้อละเอียดมี นำ้หนักและแก่ปูน ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือ พระอาจารย์จิ้ม กันภัย ความว่า ในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณ ใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้ และนำพระออกมาได้เป็นจานวนมากจนหิ้วไม่ไหว ประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็น จึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อ ธนา บ้านอยู่ใน ละแวกวัดได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้ แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณเถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง ซึ่งต่อมาได้ เขียนหนังสือร่วมกับ นายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง “สี่สมเด็จ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมา มีทั้งที่สวยงามมีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อให้กรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๐ พระที่นาออกมา ครั้งนี้นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่” เมื่อนำมาคัดแยก คงเหลือพระที่มีสภาพดี และสวยงามเพียงสามพันองค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หัก ชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนาและจับกันเป็นก้อน ที่ สภาพดีจะพบว่า ผิวของพระเป็นเกล็ดๆ ทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้คราบขี้มอดจะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็สุดแล้วแต่ล้วนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่าง น้ำกับปูนและเนื้อมวลสารที่เป็นองค์ประกอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชนื้ ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในนำ้เป็นเวลานาน กับดินโคลน เป็นต้น แต่แปลกตรงที่ว่าพระสมเด็จบางขุนพรหม เมื่อถูกใช้สักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่มใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง ส่วนในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่าพิมพ์นิยม ๙ พิมพ์นั้นที่พบน้อยที่สุดคือพิมพ์ ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่ามีไม่ถึง ๒๐ องค์ และที่สาคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบมีประมาณไม่เกิน ๒๒ องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยากมาก ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็กนักเลงพระในยุคนั้นไม่ ค่อยให้ความสนใจ แต่ปรากฏว่า หลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมายนับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม (หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอยลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ซึ่งในปัจจุบันหาดู ได้ยากเช่นกัน หลังจากเปิดกรุอย่างเป็นทางการทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององค์พระ เพื่อกันการปลอมเรียกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคามากอยู่ แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก ในช่วงเวลาดั้งกล่าว พระที่ถูกขโมยออกจากกรุไป กลับมาจำนวนมาก โดยประมาณในกรุ มีทั้งหมด ๘๔๐๐๐ องค์ เปิดกรุได้ ๓๐๐๐ เศษ (แต่ให้บูชาได้ ๒๙๕๐ องค์ พระหาย) ชำรุด ประมาณ ไม่เกิน ๑๐๐๐ องค์ เท่ากับว่า พระหาย ออกจากกรุประมาณ ๗๐๐๐๐ องค์ และ กลับมาในเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่ง โดยให้คนเข้าไปในวัดแล้วเช่าพระออกมา ดูตราน้ำหนักของวัด และปลอมขึ้น จะได้ขายได้ แล้วก็ขายกันข้างวัดเลย แต่ก็ดูไม่ยาก พระที่ขโมยออกไปมีสภาพสวย คราบกรุน้อย เวลาปั้มตราจะเห็นชัด ครบทั้งหมด ส่วนพระที่เปิดกรุ ปี ๒๕๐๐ หลังจะไม่สวย คราบกรุเยอะ ตรายางจะไม่ชัด การสังเกตตรายาง ตรายางสมัยก่อน จะเนื้อแข็ง ปั้มได้บนพื้นที่ ราบเรียบ ดังนั้นบนคราบกรุ หรือ รูบ่อน้ำตา และขี้กรุที่สูงๆ ต่างๆ จะไม่ติดชัด (ใช้ไม้บรรทัดวาง แนวหาองศาดู ว่าตรายางอยู่บนแนว ๑๘๐ องศาหรือเปล่า) ถ้าเป็นตรายางสมัยใหม่จะเป็นยางซิลิโคลน จะมีความนุ่ม และจะปั้มชัดมาก แม้กระทั่งในรูเล็กๆ สีของตรายางเองก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นสีน้าเงินม่วง หรือม่วงอมแดง ต้องไม่ใช่สีน้ำเงิน และไม่ใช่สีฟ้า เพราะเวลาผ่านมานานแล้ว ส่วนองค์พระนั้น ตอนที่บรรจุกรุอยู่ในหลุมถูกวางเรียงหงายหน้าขึ้น และซ้อนกันหลายชั้น พระ จึงมีแรงกดจำนวนมากและมีความชื้น ตั้งแต่แรกทำให้ พระบางองค์ติดกัน และบิดงอไปทางด้าน หลังส่วนใหญ่ และทำให้เกิดเนื้อเกินหลังองค์พระที่มีอายุเท่ากับองค์พระนั้นเอง (ตอนเปิดกรุพบ บางขุนพรหมชารุดด้านหน้าเป็นจำนวนมาก) และพระอยู่ในกรุร้อยกว่าปี ด้านหลังจะไม่เห็นรอย ปาดแล้ว มีแต่คราบเหนอะและมีคราบกรุเท่านั้น “ เมื่อใจมีศรัทธา ปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นเสมอ “
หมวดหมู่ พระเนื้อผง / ดิน / ว่าน
ร้านพระ

โชคเจริญทรัพย์

เบอร์โทรศัพท์ 0866278195 ID LINE 0866278195
เมื่อวันที่ 2021-02-10
ยอดเข้าชม 1,053 ครั้ง
สถานะ โชว์พระ
Scroll