ชื่อพระ | เหรียญหล่อพระพุทธชินราช วัดทองนพคุณ |
รายละเอียดพระ | พระพุทธชินราช วัดทองนพคุณ ปี2463 เหรียญหล่อพระพุทธชินราช สร้างขึ้นเป็นมงคลที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ "พระครูเหมนพคุณ" หรือหลวงปู่เผือก เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ (วัดทองล่าง) อ.คลองสาน ฝั่งธนบุรี มีอายุครบ 7 รอบ 84 ปี ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2463 โดยท่านเคยได้รับกิจนิมนต์เข้าร่วมปลุกเศกในพิธีการหล่อพระกริ่งล้อพิมพ์พระกริ่งสวนเต่าซึ่งสร้างในสมัย ร.๕ ที่วัดทองธรรมชาติ (วัดทองบน) ท่านจึงนำแม่พิมพ์ของเหรียญหล่อพระพุทธชินราชที่ได้ดำริจัดสร้างไว้เพื่อแจกให้ลูกศิษย์ทั้งหลายไปด้วย โดยเหรียญหล่อชินราชหูขวางนี้ใช้โลหะเนื้อหาเดียวกันกับที่ใช้หล่อพระกริ่งที่วัดทองธรรมชาติ ทางวัดได้นิมนต์พระอริยะเถราจารย์หลายรูปเข้าร่วมนั่งปรกปลุกเศก และส่วนใหญ่ก็เป็นพระเถระที่เคยได้เข้าร่วมในพิธีหล่อพระระฆังหลังฆ้อนที่วัดระฆังมาแล้วนั่นเอง โดยมีหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าเป็นเจ้าพิธีเททอง แม้ว่าพิธีครั้งนั้นจะไม่ได้ดำเนินการใหญ่โตมากมายนัก แต่ถ้าเทียบกันแล้ว ก็ไม่ได้ด้อยกว่าพิธีใหญ่ๆเลย ในระหว่างดำเนินการหล่ออยู่นั้นมีแผ่นยันต์บางแผ่นของพระอาจารย์บางรูปไม่ยอมหลอมละลาย หลวงปู่ศุขจึงใช้ไม้พันสายสิญจน์ลงไปจี้จึงยอมละลาย และในระหว่างสวดมงคลคาถาขณะเททอง และระหว่างนั่งทำพิธีอธิษฐานจิตปลุกเศกของบรรดาพระคณาจารย์นั้นตรงกับเวลาเที่ยงวัน ซึ่งสมัยนั้นจะยิงปืนใหญ่บริเวณสนามหลวงเพื่อบอกเวลา ปรากฎว่าปืนใหญ่ที่ใช้ยิงบอกเวลาตอนเที่ยงไม่สามารถยิงออกได้ แม้ว่าจะเปลี่ยนลูกปืน รวมทั้งเปลี่ยนปืนใหม่ โดยพยายามยิงอีกหลายครั้งก็ยังยิงไม่ออก เที่ยงวันนั้นจึงไม่มีเสียงปืนใหญ่บอกเวลา ทำให้ไม่มีเสียงดังมารบกวนพิธี พอสืบสาวราวเรื่อง และทราบเรื่องกันทีหลังว่ามีพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดทองธรรมชาติซึ่งตรงกับตอนเที่ยงของวันนั้นพอดี วัตถุมงคลในครั้งนี้จึงได้รับการขนานนามว่า "ไกลปืนเที่ยง" แต่จะได้ยินการเรียกขานชื่อของพระกริ่งมากกว่าเหรียญหล่อคือ "พระกริ่งไกลปืนเที่ยง วัดทองธรรมชาติ" แต่เมื่อพูดถึงเหรียญหล่อรุ่นนี้ แปลกที่ไม่มีใครเรียก "เหรียญหล่อชินราชไกลปืนเที่ยง" แต่จะเรียกว่า... "เหรียญหล่อชินราช วัดทองนพคุณ" เพราะเมื่อเสร็จจากพิธีแล้ว หลวงปู่เผือกได้นำไปแจกที่วัดของท่านคือ "วัดทองนพคุณ" นั่นเอง เหรียญหล่อโบราณพิมพ์ชินราชวัดทองนพคุณนี้สร้างแบบเบ้าประกบ เป็นเนื้อทองผสมวรรณะออกเหลืองอมเขียว โดยต่อมาแม่พิมพ์ด้านหน้าที่เป็นรูปพระพุทธชินราชได้นำไปใช้หล่อที่วัดเขาตะเคราเมื่อปี พ.ศ.2465 เพียงแต่ด้านหลังแทนที่จะมีอักขระยันต์อย่างเดียว แต่ดัดแปลงไปเป็นอักขระยันต์ประกอบรูป 12 นักษัตร (เหรียญละ 1 นักษัตร) อีกทั้งหลวงพ่อชุ่ม วัดบางนาใน ก็ได้นำไปใช้หล่อเมื่อปี พ.ศ.2467 แต่เปลี่ยนยันต์ทางด้านหลังเป็น "นะ เพชรฉลูกัณฑ์" แทน ถือได้ว่าเป็นไตรภาคีของเหรียญหล่อพระพุทธชินราชที่มีด้านหน้าเหมือนกัน รายนามพระอริยะเถราบุรพคณาจารย์ (บางส่วน) ที่ได้กิจนิมนต์มาร่วมพิธีพุทธาภิเศกวัตถุมงคลในครั้งนี้ 1. สมเด็จพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม จ.กรุงเทพฯ 2. หลวงพ่อทับ วัดอนงคาราม จ.กรุงเทพฯ 3. หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง จ.ธนบุรี 4. หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์ จ.ธนบุรี 5. อาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี 6. หลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณ จ.ธนบุรี 7.หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี 8. หลวงปู่รอด วัดสามไถ จ.อยุธยา 9. หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา 10. หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท 11. หลวงปู่เป้า วัดใหม่สุประดิษฐาราม จ.นครปฐม 12. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม 13. หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง จ.ธนบุรี 14. เจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา จ.กรุงเทพฯ 15. หลวงพ่อคร้าม วัดบางระกำ จ.นครปฐม 16. หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก จ.สมุทรสงคราม 17. อุปัชฌาย์กรัก วัดอัมพวัน จ.ลพบุรี 18. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ 19. หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ จ.สุพรรณบุรี 20. หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง จ.สุโขทัย 21. หลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว จ.สมุทรสาคร 22. หลวงพ่อผัน วัดกรับพวง จ.พิษณุโลก 23. อาจารย์พา วัดระฆังโฆษิตาราม จ.กรุงเทพฯ 24. หลวงพ่อชุ่ม วัดบางนาใน จ.กรุงเทพฯ 25. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี 26. หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย (ปลักไม้ดำ) จ.กำแพงเพชร 27. หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี 28. หลวงพ่อปั้น วัดหาดทนง จ.อุทัยธานี 29. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก จ.กรุงเทพฯ 30. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ 31. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร (บางขุนเทียน) จ.กรุงเทพฯ 32. หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง จ.ปทุมธานี 33. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี ฯลฯ |
หมวดหมู่ | เหรียญหล่อ / ปั้ม |
ร้านพระ | พุทธมหาเวทย์ |
เบอร์โทรศัพท์ | 0897915972 ID.Line 0897915972 |
เมื่อวันที่ | 2022-04-02 |
ยอดเข้าชม | 850 ครั้ง |
สถานะ | พระโชว์ |