รายการพระเครื่อง

ชื่อ พระยอดขุนพล
ชื่อพระ พระยอดขุนพล
รายละเอียดพระ พระยอดขุนพลเมืองศรีเทพ เนื้อดิน กรุเมืองศรีเทพ (เมืองเก่า จ.เพชรบูรณ์) เป็นพระยุคปลายของเมืองศรีเทพ เข้าสู่ยุคลพบุรียุคต้น ศิลปะยุคเมืองศรีเทพยุคปลายนี้มีอิทธิพลกับรูปแบบศิลปะในการสร้างรูปเคารพสักการะบูชาและพระเครื่องในยุคต่อๆมาเช่นพระในยุคลพบุรีเป็นต้นเมืองศรีเทพนคร1000ปีอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ นั้นเป็นโบราณสถานสำคัญมากโบราณสถานแห่งนี้เดิมถูกทิ้งร้างอยู่ต่อเมื่อกรมศิลปากรได้สำรวจและขุดแต่งจึงพบว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญยิ่ง เดิมนั้นชาวบ้านเรียกว่า "เมืองอภัยสาลี"เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗-๒๔๔๘ ได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" ลักษณะของเมืองนั้นสร้างเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เป็นชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภูมิภาคอื่นได้ ดังนั้นโอกาสที่เมืองนี้ได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียงจึงเกิดขึ้นได้และมีความต่อเนื่องสมัยจนทำให้มีเรื่องราวของการนับถือสุริยเทพตามอินเดียโบราณ นับถือไศวนิกาย และไวณพนิกายตามขอม ทำให้โบราณสถานแห่งนี้มีทั้ง ศิลปทวารวดี ศิลปขอม ผสมผสานอยู่ด้วยกัน เมืองศรีเทพเดิมนั้นน่าจะสร้างขึ้นในยุคขอมเรืองอำนาจ ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี หากศึกษาจากสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาแล้ว ต้องยอมรับว่าที่นี่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านการก่อสร้าง ประมาณว่าเมืองนี้มีความเจริญอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ บริเวณเมืองศรีเทพนั้น มีเนื้อที่ประมาณสองพันไร่เศษ ถูกรก่อกำแพงเมืองด้วยดินล้อมรอบ และมีคูเมืองนอกกำแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ในลักษณะของเมืองโบราณทวารวดี ส่วนภายในเมืองนั้นมีองค์ปรางค์ศิลปลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมืองออกนั้นมีสระน้ำสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ เล่าว่าเมืองศรีเทพนั้นต้องส่งส่วยน้ำจากสระทั้งสองนี้ ไปใช้ทำน้ำศักดิ์สิทธิในพิธีสำคัญตามคติของพราหมณ์ ประติมากรรมสำคัญของเมืองศรีเทพที่มีชื่อเสียงมากก็คือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งขุดพบสุริยเทพ หรือพระอาทิตย์ แต่ก็มี เทวรูปพระนารายณ์ พระกฤษณะ อยู่ด้วย เหมือนที่อื่นๆ อายุเทวรูปนั้นก็อยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ อีกทั้งยังพบศิลาจารึกที่มีลักษณะคล้ายเสาหลักเมือง จารึกเป็นภาษาสันสกฤต ยังไม่ทราบความหมาย ตัวอักษรนั้นมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ และศิลาจารึกอีกสองหลักซึ่งอ่านได้ความว่า หลักแรกอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ กล่าวถึงพระเจ้าภววรมัน ส่วนอีกหลักหนึ่งอายุประมาณ พุทธศตวรรคที่ ๑๕-๑๖ จารึกเป็นอักษรขอม กล่าวถึงชื่อบุคคลที่มีอิทธิพลของขอม อีกทั้งยังพบเทวรูปทวารบาลศิลา ศิลปขอมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประมาณพ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๐ เมืองแห่งนี้สร้างเป็นเมืองสองชั้นคือเมืองชั้นนอกและเมืองชั้นใน สำหรับเมืองชั้นในนั้นเป็นส่วนสำคัญของเมืองศรีเทพ ซึ่งพบว่ามีโบราณสถานขนาดใหญ่ถึง ๗๗ แห่ง มีช่องทางเข้าออกได้ ๘ ช่องทาง และมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป รูปร่างของเมืองนั้นสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละประมาณ ๑๖๐๐ เมตร ส่วนเมืองชั้นนอกอยู่ทางทิศตะวันออก มีคูน้ำกั้นอยู่มีช่องทางเข้า - ออก อยู่ ๗ ช่องทางและมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกัน สำหรับโบราณสถานที่เมืองชั้นนอกนั้นพบแล้ว ๕๗ แห่ง เมืองชั้นนอกมีขนาดใหญ่กว่าเมืองชั้นใน ดังนั้นเมืองศรีเทพทั้งสองเมืองนี้จึงก่อเป็นเชิงเทินที่ก่อด้วยดินและศิลาแลงล้อมรอบ สูงประมาณ ๖ เมตร ฐานกว้าง ๑๘-๒๗ เมตรส่วนบนกว้าง ๕-๙ เมตร นอกเชิงเทินมีคูเมืองล้อมรอบ ส่วนที่กว้างสุดประมาณ ๙๐ เมตร มีประตูทั้งหมด ๑๑ ประตู แต่ละประตูกว้างประมาณ ๑๘ เมตร ในการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๑นั้น ในชั้นดินระดับลึกสุด (ชั้นดินทราย) ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ๕ โครง โครงหนึ่งเป็นเพศหญิงนอนหงาย หันศีรษะไปทางทิศเหนือ พบกำไลสำริดคล้องแขนซ้ายบริเวณข้อศอก และมีเครื่องประดับทำด้วยหินสีส้มคล้องคอ รอบโครงกระดูกนั้นมีลูกปัดกระจายอยู่โดยรอบ เป็นหลักฐานด้ว่าเมืองศรีเทพแห่งนี้มีมนุษย์อาศัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และในยุคประวัติศาสตร์ กลุ่มชาติพันธ์ที่อาศัยอยู่นั้นจึงมีคนพื้นเมืองกับชาวอินเดียที่เดินทางจาก ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรขอม เมื่อขอมหมดอำนาจลง เมืองศรีเทพจึงถูกทิ้งร้างประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระพุทธรูป เทวรูป และพระเครื่องต่างๆของกรุศรีเทพ มีความหลากหลายและมีความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและศิลปะเชิงช่างตามคติความเชื่อแต่ละยุคแต่ละสมัยตลอดเวลา เพราะเมืองศรีเทพมีความรุ่งเรื่องและยาวนานเกือบ1000ปี ถึงจะสิ้นสุดของเมืองศรีเทพ ตั่งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘ และก็สิ้นสุดลงและก้าวเข้าสู่ยุคของลพบุรีโดยสมบูรณ์ พระพิมพ์ของทางลพบุรีไม่น้อยที่ยังคงสืบสานรูปแบบศิลปะเชิงช่างมาจากเมืองศรีเทพ อย่างเช่น พระร่วงนั่ง และ พระยอดขุนพล เป็นต้นซึ่งล้วนแล้วได้รับอิทธิพลทางศิลปะมาจากยุคทวาราวดีในยุคเมืองศรีเทพเป็นส่วนมากการศึกษาพระศรีเทพยังมีข้อมูลอ้างอิงอยู่น้อยมากการเล่นหากันเฉพาะบางพิมพ์ที่เริ่มให้การยอมรับกัน อย่างเช่น พิมพ์พระยอดขุนพล พิมพ์พระทวาราวดี และพิมพ์อื่นๆที่ยังไม่แน่ชัดแต่การเช่าซื้อต้องดูที่เนื้อหาขององค์พระซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินดิบมีความละเอียดเหมือนพระคงหรือพระทางภาคเหนือมีความแกร่งหนึกนุ่มในองค์พระ องค์พระที่สมบูรณ์ไม่มีการล้างผิวหรือสัมผัสไม่มากจะพบคราบขาวๆหรือคราบแคลเซียมปกคลุมอยู่ทั่วองค์พระ และอาจจะเจอคล้ายน้ำเครือบเครื่องปั้นดินเผาติดมากับองค์พระซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุนี้ครับ “ เมื่อใจมีศรัทธา ปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นเสมอ “
หมวดหมู่ พระกรุ
ร้านพระ

โชคเจริญทรัพย์

เบอร์โทรศัพท์ 0866278195 ID LINE 0866278195
เมื่อวันที่ 2023-05-20
ยอดเข้าชม 250 ครั้ง
สถานะ 3,500 บาท
Scroll