ชื่อพระ | พระกรุวัดจุฬามณี พิมพ์หน้าฤาษีหลังนาง เนื้อดิน นิยม จังหวัดพิษณุโลก พระสวยทั้งสองหน้า พุทธคุณ ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และเมตตาสูง |
รายละเอียดพระ | พระกรุวัดจุฬามณี พิมพ์หน้าฤาษีหลังนาง เนื้อดิน นิยม จังหวัดพิษณุโลก พระสวยทั้งสองหน้า พุทธคุณ ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และเมตตาสูง รายละเอียด "พระกรุวัดจุฬามณี นับเป็นพระกรุสำคัญของพิษณุโลกที่มีอายุเก่าแก่ และมีพุทธศิลปะที่เป็นไปตามคติและฝีมือช่างพื้นเมือง" เมืองพิษณุโลก ถือเป็นหนึ่งในเมืองพระของไทยเช่นกัน มีวัดวาอารามโบราณและการปรากฏของพระกรุเก่ามากมาย หนึ่งในนั้น คือ “วัดจุฬามณี” ซึ่งจัดเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างโดยขอมเมื่อสมัยเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ และน่าจะเป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนา ด้วยปรากฏเทวสถานเป็นพระปรางค์ศิลาแลงเก่าแก่ประดับลายปูนปั้นงดงามมาก แม้ในปัจจุบันจะชำรุดเสียหายไปมาก แต่ร่องรอยแห่งฝีมือชั้นครูและคติเทวสถานของขอมยังปรากฏให้เห็นอยู่ ชื่อ "วัดจุฬามณี" นี้ พบเป็นครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ปรากฏความว่า "ศักราช 810 ปีมะโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี" และ "ศักราช 811 ปีมะเส็ง เอกศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าทรงผนวช ณ วัดจุฬามณี ได้แปดเดือนแล้วลาผนวช" ซึ่งไปตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับจักรพรรดิพงษ์ (จาด) แสดงให้เห็นว่า วัดจุฬามณีมีความสำคัญมากในสมัยอยุธยาเรืองอำนาจ ถึงขนาดพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทรงปฏิสังขรณ์ สร้างโบราณสถานต่างๆ จนถึงทรงผนวชอยู่นาน 8 เดือน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งมีการตั้ง "โบราณคดีสโมสร" ขึ้น เพื่อสืบค้นประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยอย่างจริงจัง ในระยะนี้มีความพยายามที่จะเสาะหา "วัดจุฬามณี" ซึ่งมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ก็มิได้พบสถานที่ใดจะมีความเป็นไปได้ตามหลักฐานที่ปรากฏ จนกระทั่งรัตนโกสินทร์ศกที่ 126 (พ.ศ.2451) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ เสด็จขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ทรงพบวัดวัดหนึ่งชื่อวัดจุฬามณี ที่เมืองพิษณุโลก มีศิลาจารึกปรากฏอยู่บริเวณหน้ามณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดฯ ให้จารึกไว้ในคราวที่ทรงจำลองรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ซึ่งค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม มาประดิษฐาน ณ วัดจุฬามณี แห่งนี้ เมื่อจุลศักราช 1180 (พ.ศ.2222) ความว่า "ตีความตามนาม ´จุฬามณี´ นั้นเป็นชื่อของพระมหาเจดีย์จุฬามณี ตามคติพุทธศาสนาที่เชื่อว่าเป็นมหาเจดีย์ประดิษฐานพระเกศธาตุขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระมหาเจดีย์นี้ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นที่เคารพสักการะของเทพยดาทั้งมวล ผู้ใดทำกุศลผลบุญอันมหาศาลจะได้ขึ้นไปสักการะองค์พระมหาเจดีย์จุฬามณีนี้” วัดสำคัญที่เก่าแก่ผ่านยุคผ่านสมัยมาหลายร้อยปีดังเช่น “วัดจุฬามณี” ย่อมต้องมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอย่างแน่นอน ซึ่งได้รับการขนานนามตามชื่อวัดว่า "พระกรุวัดจุฬามณี" หรือบางท่านก็เรียก "พระกรุน้ำ" เนื่องจากสมัยโบราณวัดจุฬามณีอยู่ริมลำน้ำน่าน เมื่อผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน พระเจดีย์ที่บรรจุพระจึงถูกน้ำกัดเซาะ ทำให้พระส่วนใหญ่แช่อยู่ในน้ำ พระกรุวัดจุฬามณี ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา สีขององค์พระจึงมีหลายวรรณะ แต่จะมีพุทธลักษณะโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ คือ องค์พระมีขนาดเขื่อง ขอบพิมพ์ทรงไม่สู้จะเรียบร้อยนัก ลักษณะการกดแม่พิมพ์มีทั้งกดด้านหน้าและด้านหลัง จึงมักจะปรากฏขอบวงนอกของแม่พิมพ์ด้านที่กดพิมพ์หลังปลิ้นขึ้นมาเล็กน้อย ผิวพื้นด้านที่กดพิมพ์หลังจะเว้าเป็นแอ่งกระทะน้อยๆ ส่วนด้านที่กดพิมพ์หน้าพื้นผิวจะแอ่นโค้งออก ไม่ปรากฏขอบวงนอกปลิ้นขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องกดด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นด้านหน้าอาจจะมีขอบวงแม่พิมพ์ปลิ้นและพื้นเว้า ส่วนด้านหลังอาจจะไม่มีขอบปลิ้นและแอ่นโค้งก็เป็นได้ เนื่องจากการกดแม่พิมพ์ทั้งสองด้านนี้เอง ทำให้พระกรุวัดจุฬามณีแบ่งแยกออกเป็นหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์หน้าฤาษี หลังนาง, พิมพ์หน้าฤาษีเปลวเพลิง หลังนาง, พิมพ์ชินราช หลังนาง, พิมพ์รัศมี หน้าเดียว และพิมพ์หน้านาง หลังนาง เป็นต้น จุดสังเกตสำคัญอีกประการหนึ่งของ พระกรุวัดจุฬามณี ก็คือ องค์พระส่วนใหญ่แช่อยู่ในน้ำ ผิวขององค์พระจะไม่เรียบตึง จะมีรอยหดเหี่ยวและรูพรุนน้อยๆ บางองค์เห็นเม็ดกรวดทรายอย่างชัดเจน พระกรุวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก นับเป็นพระกรุสำคัญของพิษณุโลกที่มีอายุเก่าแก่ และมีพุทธศิลปะที่เป็นไปตามคติและฝีมือช่างพื้นเมือง ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงทำให้เป็นที่นิยมสะสมกันอย่างแพร่หลาย |
หมวดหมู่ | พระเนื้อผง / ดิน / ว่าน |
ร้านพระ | ทองบ้านใน พระเครื่อง |
เบอร์โทรศัพท์ | 084-746-1623 |
เมื่อวันที่ | 2024-01-02 |
ยอดเข้าชม | 512 ครั้ง |
สถานะ | โชว์พระ |