รายการพระเครื่อง

ชื่อ พระนาคปรกพระงั่ว
ชื่อพระ พระนาคปรกพระงั่ว
รายละเอียดพระ พระนาคปรกพะงั่ว พิมพ์กลาง เป็นพระศิลปะลพบุรีโดยแท้ มีผู้สันทัดกรณีให้ข้อสันนิษฐานว่าเป็นพระฝากกรุ โดยขุนหลวงพะงั่วหรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ได้นำเอาพระที่สร้างในสมัยลพบุรี ซึ่งสร้างโดยช่างสกุลขอมโบราณ มาบรรจุกรุไว้ที่วัดมหาธาตุ     แต่ความจริงแล้วจะต้องเป็นขุนหลวงพะงั่วหรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 นั่นเองที่ได้ทรงสร้างเพื่อบรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุเมื่อพ.ศ. 1917  คราวที่บูรณะวัดมหาธาตุเพราะเหตุผลสำคัญหลายประการคือ 1.           พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์นักรบผู้เก่งกล้าสามารถและมีตบะเดชะ มหาอำนาจบารมีสูง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะนำพระของผู้อื่นสร้างมาบรรจุเป็นอนุสรณ์ของพระองค์ท่านเอง 2.           ในรัชสมัยของพระองค์นั้น พระองค์ท่านเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา (องค์ที่ 2 คือพระราเมศวร ครองราชย์เพียงปีเดียว) ซึ่งช่วงเวลานั้นยังคงอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวผลัดเปลี่ยนยุคของศิลปะอู่ทอง ซึ่งคือศิลปะขอมในภาคกลางก่อนสมัยอยุธยา ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรีอยู่มาก ไม่ใช่ศิลปะอยุธยาของพระเจ้าอู่ทองอย่างที่หลายท่านเข้าใจ เป็นศิลปะของขอมโดยตรงและในช่วงแรกนั้นอยุธยายังไม่มีศิลปะของตนเอง ดังนั้นศิลปะอู่ทองจึงยังมีอิทธิพลอยู่เต็มที่ 3.           ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง พระปฐมกษัตริย์องค์แรกแห่งกรุงอยุธยา ทรงมีรับสั่งให้ขุนหลวงพะงั่วไปปกครองเมืองสุพรรณบุรี ส่วนสมเด็จพระราเมศวรไปปกครองลพบุรี จึงเป็นไปไม่ได้ที่ขุนหลวงพะงั่วจะนำพระจากลพบุรีไปบรรจุกรุที่อยุธยา จะเห็นได้ว่าพระนาคปรกที่ขึ้นกรุอื่นในลพบุรีนั้นไม่มีพระนาคปรกที่เป็นแบบเดียวกับปรกพะงั่วเลย เพียงแต่ระบุได้ว่าเป็นศิลปะในยุคสมัยเดียวกันเท่านั้น    พระพิมพ์นี้ ขุดพบจากกรุในบริเวณวัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ เป็นพระเนื้อชินเงิน ที่มีอายุความเก่าถึง ๖๐๐ กว่าปี พระกรุนี้เกือบทั้งหมด เนื้อพระจะผุกร่อนและระเบิดเสียมาก เพราะเป็นกรุที่น้ำท่วมถึง ส่วนมากเป็นผิวสนิมเกล็ดกระดี่สีดำตีนกา  เนื้อพระออกแบบสีดำปนเทา ปรากฏอยู่ทั่วบริเวณผิวพระ    พระที่ขุดพบได้พิมพ์นี้มีศิลปะของขอมโดยตรง โดยเฉพาะพระนาคปรกพะงั่วที่มีซุ้มเรือนแก้ว ถือเป็นพิมพ์พิเศษที่หาได้ยากยิ่ง ลักษณะของซุ้มเรือนแก้วที่อยู่ล้อมองค์พระงดงามมาก ซุ้มลักษณะเช่นนี้เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถชี้ชัดได้ว่า เป็นการสร้างโดยฝีมือช่างของศิลปะขอมโบราณ     อีกทั้งพระพิมพ์นี้มีลักษณะผุกร่อนระเบิดมาก จะเก่ากว่าพระทั้งหลายที่ขุดพบได้ที่ จ. อยุธยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระที่มีผิวปรอทขาวจับตามองค์พระแทบทั้งสิ้นแต่ พระนาคปรกพะงั่วทั้งกรุ กลับไม่มีผิวคราบปรอทเลย มีแต่สนิมเกล็ดกระดี่เป็นส่วนใหญ่ และผิวเนื้อพระออกทางสีดำปนเทา แบบสนิมตีนกาทั่วทั้งองค์    พระนาคปรกกรุพะงั่ว เป็นพระนาคปรกที่ถือว่าเป็นจักรพรรดิแห่งพระนาคปรกที่มีพุทธศิลป์งดงามอลังการที่สุด โดยเฉพาะตัวพญานาค ดูดุจดั่งมีชีวิต แผ่รังสีแห่งความมีอำนาจน่าเกรงขาม ซึ่งไม่มีพระนาคปรกจากกรุอื่นใดที่จะมีพลังดึงดูดให้ชวนชมน่าเกรงขามมากเท่ากับพระนาคปรกพะงั่ว กรุวัดมหาธาตุนี้เลย    พระนาคปรกพะงั่ว เป็นพระพิมพ์ปางสมาธิ มีพญานาคแผ่พังพาน 7 เศียร อยู่เบื้องบนพระเศียร ส่วนฐานทำเป็นตัวพญานาค มี 3 ชั้นบ้าง 7 ชั้นบ้างและชั้นเดียวบ้าง ด้านหลังมักปรากฏลายผ้า   พระนาคปรกพะงั่วมี 3 พิมพ์ คือ 1. พิมพ์ใหญ่ เป็นพระนาคปรกฐาน 3 ชั้น ขนาดโดยประมาณ กว้าง 4 ซม.  สูง 7 ซม. พระวรกายมีลักษณะองค์พระต้อ ประทับนั่งปางสมาธิราบ เป็นพระเครื่องแบบศิลปะลพบุรีด้วยฝีมือช่างอู่ทอง 2. พิมพ์กลาง 2 ชั้น เป็นพระนาคปรกที่มีทรวดทรงชะลูด นั่งยกพระอังสกุฏ (ไหล่) ทั้งสองขึ้นเล็กน้อย เค้าพระพักตร์ดุเครียด พระหนุ (คาง) เป็นเหลี่ยมลบมุม พระเศียรสวมอุณหิศ (มงกุฎ) กรอบกระบังหน้าเป็นเส้นคู่ พระกรรณส่วนมากไม่ติดพิมพ์ ทรงฉลองพระศอ (สร้อยสังวาลย์) ปรากฏรัดประคดเหนือพระหัตถ์ที่วางซ้อนกัน พระชงฆ์ที่ซ้อนกันเว้าเข้าข้างใน การประทับนั่งในลักษณะยกพระที่นั่ง (ก้น) ขึ้นเล็กน้อย ขนาดองค์พระเครื่อง กว้างประมาณ 3 ซม.  สูง 6 ซม.  ในพิมพ์กลางนั้น
ยังมีอีกพิมพ์ทรงหนึ่ง คือ พิมพ์กลางต้อ ลักษณะขององค์พระ มีลักษณะที่ดูต้อๆ ป้อมๆ 3. พิมพ์เล็ก พระนาคปรกในพิมพ์ทรงนี้ ในรายละเอียดของความชัดเจนแล้ว สู้ทั้งสองพิมพ์ที่กล่าวมาแล้วไม่ได้เลย เค้าพระพักตร์มีลักษณะเครียดดุ ลักษณะการประทับนั่งแบบยกพระอังสกุฏ (ไหล่) ทั้งสองข้างขึ้นเล็กน้อย การวางพระกรประสานกันในลักษณะกอดรัดองค์พระเล็กน้อย พระบาทและพระชงฆ์เว้าเข้าด้านใน ฐานมีเพียงชั้นเดียว ขนาดองค์พระเครื่องกว้างประมาณ 2.7 ซม. สูง 5 ซม. นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พิเศษที่มีฐาน 4 ชั้นและพิมพ์นาคปรกที่มีพระองค์เล็กๆที่ฐานด้วย
หมวดหมู่ พระกรุ
ร้านพระ

โชคเจริญทรัพย์

เบอร์โทรศัพท์ 0866278195 ID LINE 0866278195
เมื่อวันที่ 2018-04-24
ยอดเข้าชม 355 ครั้ง
สถานะ โทรถาม
Scroll