รายการพระเครื่อง

ชื่อ พ่อท่านมุ่ย
ชื่อพระ พ่อท่านมุ่ย
รายละเอียดพระ วัดป่าระกำเหนือ นครศรีธรรมราช #มุมความรู้เรื่องการสร้างพระปิดตาคับ #ตอนที่ 1 มูลเหตุในการสร้างพระปิดตา และวิธีการทำผงปถมัง ที่ใช้ในการสร้างพระปิดตา ประทานพร โดยสังเขป ​#มูลเหตุความเป็นมาในการริเริ่มสร้างพระปิดตา ​เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ ทหารไทยรบกับทหารญี่ปุ่นสืบเนื่องมาเป็นเวลานานหลายปี หลวงพ่อมุ่ย ท่านจึงได้ไปขอผู้ชายไทยที่สมัครใจเป็นทหารรับใช้ชาติ ครั้นเมื่อหลวงพ่อมุ่ยได้ขอลูกชายเขาให้มาเป็นทหารแล้ว ก็มีคนไปถามหลวงพ่อมุ่ยว่า ในปีนี้หลวงพ่อได้ขอลูกเขา ให้ไปเป็นทหารได้กี่คนแล้ว หลวงพ่อขอลูกเขาให้ไปเป็นทหาร ถ้าลูกชาวบ้านที่หลวงพ่อได้ไปขอให้ไปเป็นทหาร กลับมาไม่ครบละ หลวงพ่อจะทำอย่างไร หลวงพ่อมุ่ยท่านจึงคิดว่าจะทำอย่างไร ที่จะให้ทหารเหล่านั้น กลับมารอดปลอดภัยครบทุกคน จึงได้เริ่มเขียนผงปถมัง เพื่อใช้ในการสร้างพระปิดตา ​ #วิธีการทำผงปถมัง ​หลวงพ่อมุ่ย ท่านเชียวชาญในการทำผงปถมังเป็นอย่างมาก โดยวิธีทำของท่าน ท่านจะนำเอาก้อนหินจำนวน ๓ ก้อน สูง ๑๒ นิ้ว นำมาทำเป็นเตาไฟ (ภาษาใต้เรียกว่า ก้อนเส้า) เพื่อจะตั้งกระทะ และได้ใช้ ไม้พาย ๑ อัน ไว้สำหรับกวนดินสอพองกับแร่เม้า (ดินเม้า) และได้ใช้ฟืน รวมของทุกสิ่งทั้งหมด หลวงพ่อมุ่ย ท่านได้ลงอักขระเลขยันต์ทั้งสิ้น เสร็จแล้วท่านก็จะทำการเสกน้ำเพื่อดับไฟ (เรียกว่า การตั้งธาตุ ปรุงธาตุ และใช้น้ำมนต์เสกดับธาตุไฟ เพื่อดับปืนไฟ เป็นเคร็ดวิธีเพื่อทำพระให้เด่นพุทธคุณทางคงกระพัน) หลังจากนั้นแล้วได้นำเอาผงในกระทะนั้น มาปั้นเป็นแท่งดินสอ แล้วนำเอาแท่งดินสอนั้นไปตั้งเรียงไว้บนแกลบข้าว แล้วทำการเผาไฟอีกครั้งหนึ่ง จึงได้นำเอาแท่งดินสอนี้ มาเขียนอักขระเลขยันต์ ในการทำผงปถมัง หลวงพ่อมุ่ย ท่านได้ใช้ความมานะพากเพียร ในการเขียนสูตรปถมังแล้วลบเป็นผง อยู่นานถึง ๑๓ เดือน ก่อนจะนำผงนี้มาสร้างเป็นพระปิดตา คับ #วิธีการทำดินเม้านี้แหละคับ คนฟัง ฟังไม่จบ แล้วไปแปรงสารโดยนึเอางว่า เป็นวิธี เคี่ยวนมควาย ซึ้ง วิธีการทำนมควายที่ใช้ทำพระปิดตานั้น ไม่ได้ทำอย่างนี้ ตอนต่อไป ตอน 2 จะเขียนว่า นมควายที่ใช้ในการสร้างพระปิดตานั้น ทำอย่างไร คับ ตอนที่ 2 #วิธีการทำน้ำนมควายที่ใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระปิดตา​ ​การสร้างพระปิดตาผสมน้ำนมควายนั้น ในส่วนของน้ำนมควาย เป็นน้ำนมควายที่ชาวบ้านทั่วๆ ไป ได้นำมาถวายท่าน หลวงพ่อมุ่ยท่านได้ใช้วิธีการ ทิ้งน้ำนมควาย ไว้ ๑ คืน จนน้ำนมควายนั้นบูด แล้วทำการไล่ไข่มัน ไล่น้ำ ออกจนหมด ยังเหลือนมควายเป็นผลึกใสติดอยู่ก้นขวด หลวงพ่อมุ่ยท่านจะเรียกว่า “ นมติด “ แล้วได้นำนมติดนี้ไปทำการปั้นเป็นก้อน แล้วตากแดดที่ไม่ร้อนจนเกินไป ประมาณ ๑ อาทิตย์ เมื่อแห้งดีแล้ว จึงนำนมควายที่แห้งนี้ มาทำการฝนให้เป็นผงนมควาย โดยใช้มีดตอกขูดนมบ้าง ถูกด้วยหินลับมีด บ้าง ถูด้วยกระดาษทราย บ้าง แล้วท่านจึงได้นำมาผสมกับผงปถมัง โดยไม่มีผงอื่นๆ มาผสมเลย เมื่อเสร็จการผสมจึงได้กดเป็นองค์พระ หลวงพ่อมุ่ยท่านจะเป็นผู้กดพิมพ์พระด้วยตัวท่านเอง ในการกดพิมพ์พระนั้น แต่ละองค์ ๆ ท่านจะว่าคาถา ๓ ครั้ง ดังนี้ ​กดครั้งที่ ๑ กดที่ศรีษะพระ ท่านจะว่าพระคาถา “ สีสะ นิมิตตัง วิตรึง คะเร “ ​กดครั้งที่ ๒ กดที่องค์พระ ท่านจะว่าพระคาถา “ อังคะ นิมิตตัง วิตรึง คะเร “ ​กดครั้งที่ ๓ กดที่พระบาท ท่านจะว่าพระคาถา “ ปาทะ นิมิตตัง วิตรึง คะเร “ ​แล้วทำการตั้งชื่อ ด้วยพระคาถาว่า “นามะนัง นามะโส ยุตตะโถ ยุตตะถะ แห่งนามทั้งหลาย อาจารย์พึงหมายให้ชื่อว่า พระควัมปติเถระ (พระปิดตา) ​เมื่อท่านได้กดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้นำไปตั้งไว้จนแห้ง เสร็จแล้วได้นำมาตกแต่งและแกะด้านหลังองค์พระ แล้วทาเคลือบด้วยชะแล็คหรือเล็คเกอร์ ( ในส่วนเศษผงที่เหลือจากการตกแต่งองค์พระนั้น หลวงพ่อมุ่ยท่านจะนำมาปั้นเป็นลูกอม เม็ดสีขาว แล้วทาเคลือบด้วยชะแล็ค เรียกลูกอมชนิดนี้ว่า ลูกอมผงปถมัง ) #จากภาพดังกล่าว เม็ดขุ่นๆ ขาว ใส นั้นแหละคับ คือผงนมควาย ชิ้นใหญ่บ้าง เล็กบ้าง เป็นผงบ้าง เพราะกรรมวิธี ถูด้วยกระดาษทราย ถูด้วยหินลับมีด ขูดด้วยมีดตอก ขนาดของนมควายแห้ง จึงแตกต่างกัน #นมควายไม่ได้ตั้งไฟเคี้ยวนะคับ และไม่ใช่นมควายพรรมจรรย์ #นมควายนั้นต้องทำแห้งเป็นแท่งก่อน ก่อนจะมาผสมกับผงสร้างพระ ตอนที่ 3 #เม็ดดำเม็ดแดงที่อยู่ในองค์พระและระวะเวลาในการสร้างพระปิดตานมควาย พ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ เมื่อท่านได้กดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้นำไปตั้งไว้จนแห้ง เสร็จแล้วได้นำมาตกแต่งและแกะด้านหลังองค์พระ แล้วทาเคลือบด้วยชะแล็ค หรือเล็คเกอร์ (ชะแล็ค กับ เล็คเกอร์เมื่อทาพระ จะออกสีคนละอย่างกันนะครับ ชะแล็คเมื่อทาพระจะออกแดงทึบ ส่วนแล็คเกอร์จะออกแววมัน) พระปิดตาผสมน้ำนมควาย จะมีลักษณะเป็นพิมพ์ลอยองค์ นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกปิดพระพักตร์ เห็นร่องนิ้วชัดเจน หลวงพ่อมุ่ย ท่านได้ทำการออกแบบ ทำการแกะแม่พิมพ์องค์พระ และกดพิมพ์พระด้วยตัวท่านเองทั้งหมด โดยแม่พิมพ์พระปิดตานั้นจะมีเฉพาะแม่พิมพ์ด้านหน้าเท่านั้น พระปิดตานั้นมีขนาด สูงประมาณ ๒ ซม. หน้าตักกว้างประมาณ ๑.๘ ซม. ขนาดของพระจะไม่เท่ากัน เนื่องจากหลวงพ่อมุ่ยท่านได้ตกแต่งด้วยมือของท่านเอง แต่พอจะแยกพิมพ์ได้ว่า พิมพ์ใหญ่จั้มโบ้ พิมพ์ใหญ่กลาง พิมพ์เล็ก เนื้อของพระจะออกสีน้ำตาลอ่อน มีจุดดำ ๆ แดงๆ เล็กๆ อยู่ทั่วองค์พระ จุดดำๆ หรือแกมน้ำตาล นี้ เป็นสเก็ตจากใบพญากาสัก ซึ่งหลวงพ่อมุ่ยท่านได้นำใบพญากาสัก มาทำการลงอักขระเลขยันต์ แล้วทำการเผาไฟ เสร็จแล้วเอาใบพญากาสักที่เผาไฟนั้น มาตำในครกด้วยมือท่านเอง เพื่อเอามาเป็นส่วนผสม ส่วนจุดแดงๆ นั้น เป็นเม็ดปูนแดงและเม็ดแร่ในดินเม้า มีสเก็ตไม้ไผ่สีสุกเล็ก ๆ ผสมอยู่ในองค์พระ และท่านจะใช้ไม้ไผ่สีสุก เป็นแก่นกลางขององค์พระ เนื้อพระละเอียดอ่อน ผิวเป็นมันเหมือนสีเหลืองงาช้าง ผิวนอกเคลือบไว้ด้วยชแล็คหรือเล็คเกอร์ เพื่อความคงทนถาวร และในปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ ได้มีครูจากโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช นำชแล็คเบอร์ ๗ แล็คเกอร์เบอร์ ๖ ไปถวายท่านเพิ่มอีก ท่านจึงได้ทำการทาชแล็คซ้ำ ทั้งพระปิดตาและพระประทานพร #ระยะเวลาในการสร้างพระปิดตา หลวงพ่อมุ่ย ได้เริ่มสร้างพระปิดตาออกแจกแก่ทหารในปี ๒๕๐๐ และในปี ๒๕๐๔ ได้สร้างพระปิดตาและพระประทานพร เพื่อแจกให้แก่ชาวบ้านทั่วไป โดยท่านได้ทำการสร้างและแจกออกมาเรื่อยๆ ทำครั้งละไม่กี่องค์ แล้วแต่ว่ามีนมควายมากน้อยเพียงใด เมื่อแจกหมดก็ทำใหม่ขึ้น ทำเรื่อยๆมาอย่างนี้ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงได้หยุดการสร้างพระปิดตา การสร้างพระปิดตาผสมน้ำนมควายและพระประทานพรนั้น หลวงพ่อมุ่ย ท่านได้เขียนผงปถมังและสร้างพระปิดตาขึ้นที่วัดป่าระกำเหนือ แต่ในปี พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๒ ท่านจำเป็นที่จะต้องไปจำพรรษาที่วัดบางบูชาชนาราม ท่านจึงได้นำพิมพ์พระ พร้อมผงปถมังไปด้วย และได้สร้างพระปิดตาต่อที่วัดบางบูชาชนาราม เมื่อพระครูญาณสุนทร หลวงพ่อยิ้ม ซึ่งเป็นพระน้องชายของท่าน อยู่ที่วัดป่าระกำเหนือ เกิดอาพาธ หลวงพ่อมุ่ย ท่านจึงได้กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าระกำเหนือ เพื่อดูแลหลวงพ่อยิ้มพระน้องชายที่อาพาธ พระปิดตาผสมน้ำนมควายนั้น เจตนาสร้างขึ้นเพื่อแจกผู้ชายโดยเฉพาะ และไม่ควรให้ผู้หญิงที่มีประจำเดือนจับต้ององค์พระเด็ดขาด หลวงพ่อมุ่ยท่าน จึงได้สร้างพระปางปฐมเทศนา (พระประทานพร) ขึ้นเพื่อแจกแก่ผู้หญิง พระปิดตาผสมน้ำนมควายนั้น มีพุทธคุณ อิทธิฤทธิ์ที่เป็นหลัก ๖ ทาง คือ ทางคงกระพัน แคล้วคลาด อำนาจตบะ ฉะหัง เพชรหลีก และลาภสักการะ #มุมความรู้ เรื่องพระปิดตานมควาย หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ #ตอนที่ 4 ระยะเวลาในการสร้างพระปิดตานมควาย หลวงพ่อมุ่ย ได้เริ่มสร้างพระปิดตาโดยออกแจกแก่ทหารในปี 2500 และในปี 2504 ได้สร้างพระปิดตาและพระประทานพร เพื่อแจกให้แก่ชาวบ้านทั่วไป ในการสร้างพระปิดตานั้น ท่านได้ทำการสร้างและแจกออกมาเรื่อยๆ ทำครั้งละไม่กี่องค์ แล้วแต่ว่ามีนมควายมากน้อยเพียงใด ถ้าท่านมีความสนิทหรือผูกพันกับใครก็จะสั่งว่า ให้หานมควายมาให้พ่อท่านนะ พ่อท่านทำพระปิดตาให้ เอานมควายไปให้ 1 ขวด ก็จะได้พระปิดตามา 1 องค์ เมื่อแจกหมดก็ทำใหม่ขึ้น ทำเรื่อยๆมาอย่างนี้ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2530 โดยประมาณ จึงได้หยุดการสร้างพระปิดตา การสร้างพระปิดตาผสมน้ำนมควายและพระประทานพรนั้น หลวงพ่อมุ่ย ท่านได้เขียนผงปถมังและสร้างพระปิดตาขึ้นที่วัดป่าระกำเหนือ ก่อนเป็นครั้งแรก ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก และสร้างเรื่อยๆ มา ในปี พ.ศ.2519-2522ท่านจำเป็นที่จะต้องไปจำพรรษาที่วัดบางบูชาชนาราม ท่านจึงได้นำพิมพ์พระ พร้อมผงปถมังไปด้วย และได้สร้างพระปิดตาต่อที่วัดบางบูชาชนาราม หลังจากอยู่จำพรรษาที่วัดบางบูชาชนาราม แล้วในปี 2522- 2524 ก็ไปอยู่จำพรรษาที่คลองน้อย ท่านจึงได้นำพิมพ์พระ พร้อมผงปถมังไป และได้สร้างพระปิดตาต่อที่คลองน้อย ต่อเมื่อพระครูญาณสุนทร หลวงพ่อยิ้ม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าระกำเหนือในตอนนั้น หลวงพ่อยิ้ม ซึ่งเป็นพระน้องชายของพ่อท่านมุ่ย เกิดอาพาธ หลวงพ่อมุ่ย ท่านจึงได้กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าระกำเหนืออีกครั้ง เพื่อดูแลหลวงพ่อยิ้มพระน้องชายที่อาพาธ และได้สร้างพระปิดตาต่อ ที่วัดป่าระกำเหนือ พระปิดตานั้นมีการสร้างด้วยกัน 3 วัด คือ วัดป่าระกำเหนือ วัดบางบูชา และวัดคลองน้อย แล้วแต่ใครจะได้รับที่วัดใด รูปแบบพิมพ์พระ ผง เหมือนกันทั้งหมด ซึ่งไม่สามารถแยกได้เป็นการชัดเจนว่า พิมพ์ไหนออกที่วัดไหน ซึ่งในสมัยก่อน ได้มีการกล่าวว่า พิมพ์ใหญ่ออกวัดป่าระกำเหนือ พิมพ์เล็กออกวัดบางบูชา ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เป็นอย่างนั้น ทั้ง 3 วัดตามที่กล่าวแล้ว มีการสร้างทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กครับ พระปิดตาของท่าน ทำขึ้นเรื่อยๆ ทำทีละองค์ สององค์ ทำแจก อย่างเดียว แจกหมดก็สร้างใหม่ เป็นอย่างนี้ ไม่ได้สร้างขึ้นครั้งเดียว ลักษณะพระ เนื้อหาความจัดจ้าน จึงแตกต่างกันออกไป แต่มวลสารและนมควายตามที่กล่าว ในตอนที่ 1 2 และตอนที่ 3 ต้องมีครบ พระปิดตาผสมน้ำนมควายนั้น เจตนาสร้างขึ้นเพื่อแจกผู้ชายโดยเฉพาะ และไม่ควรให้ผู้หญิงที่มีประจำเดือนจับต้ององค์พระเด็ดขาด หลวงพ่อมุ่ยท่าน จึงได้สร้างพระปางปฐมเทศนา (พระประทานพร) ขึ้นเพื่อแจกแก่ผู้หญิง พระปิดตาผสมน้ำนมควายนั้น มีพุทธคุณ อิทธิฤทธิ์ที่เป็นหลัก ๖ ทาง คือ ทางคงกระพัน แคล้วคลาด อำนาจตบะ ฉะหัง เพชรหลีก และลาภสักการะ CR. กล้วยปากพนัง
หมวดหมู่ พระปิดตา
ร้านพระ

โชคเจริญทรัพย์

เบอร์โทรศัพท์ 0866278195 ID LINE 0866278195
เมื่อวันที่ 2018-01-30
ยอดเข้าชม 854 ครั้ง
สถานะ พระโชว์
Scroll